User & Search Intent ปัจจัยสำคัญในการทำ SEO เพื่ออันดับที่ดี บน Google Search

แชร์บทความนี้!

Search Intent หรือ User Intent เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากเพื่อการจัดอันดับ SEO ในปัจจุบัน แต่น่าแปลกใจที่หลายคนกลับมองข้ามเรื่องนี้ ไม่ได้มีการวิเคราะห์ วางแผนและปรับปรุงให้เหมาะสม, ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Search/User Intent วิธีการใช้ประโยชน์ การสร้างเนื้อหาบนเว็บไซต์และการปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อการจัดอันดับ SEO ที่ดียิ่งขึ้นบน Google Search

Searcher Intent

Search Intent คือ อะไร ?

Search Intent คือ เจตนาของการค้นหา เป็นสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังการใช้ ข้อความค้นหา (Query) ในรูปแบบต่าง ๆ บน Search Engine เช่น บางคนค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ บางคนค้นหาข้อมูลเพื่อการซื้อ, บางครั้งเรียกว่า User Intent (เจตนาของผู้ใช้งาน) ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้

User Intent สำคัญแค่ไหน ?

เป้าหมายของ Google คือ การให้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการค้นหามากที่สุดแก่ผู้ใช้งาน หากคุณต้องการมีอันดับที่ดีบน Google Search ได้รับการเข้าชมที่ถูกต้องแม่นยำจากกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการขายและให้บริการในธุรกิจของคุณแล้วล่ะก็ การสร้างเนื้อหาที่สอดคล้องกับ User Intent หรือ Search Intent เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด แต่น่าแปลกใจที่หลายคนมักจะมองข้ามมันไปอย่างน่าเสียดาย 

ประเภทของ Search Intent

Search Intent สามารถแบ่งประเภทออกตามลักษณะของการค้นหาได้ดังต่อไปนี้

ข้อมูล, ข่าวสาร (Informational)

ผู้ใช้งาน “ค้นหาหาข้อมูล” เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามง่าย ๆ แต่ไม่ใช่ว่าคำค้นหาทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบคำถามนะครับ

Search Intent Informationalตัวอย่าง:

  • จัสติน ทิมเบอร์เลค คือใคร
  • ทางไปร้านอิซากายะ
  • วิธีตัดผมด้วยตัวเอง
  • ผลบอล
  • wordpress

การนำทาง (Navigational)

ผู้ใช้งาน “ค้นหาเว็บไซต์ที่เฉพาะเจาะจง” พวกเขาอาจคิดว่าการพิมพ์คำค้นหาใน Google นั้นง่ายและเร็วกว่าการพิมพ์ URL ของเว็บไซต์ใน Address Bar ของ Browser หรือบางทีอาจไม่แน่ใจเกี่ยวกับ URL ที่ถูกต้องของเว็บไซต์เหล่านั้น

Search Intent Navigational

ตัวอย่าง:

  • twitter login
  • facebook gaming
  • pantip หุ้น
  • wongnai travel
  • kerry เลขพัสดุ

การตรวจสอบเพื่อการซื้อ (Commercial investigation)

ผู้ใช้งาน “ค้นหาสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าตัวเลือกใดเหมาะสมกับพวกเขา” มักจะมองหาความคิดเห็นและการเปรียบเทียบ กำลังอยู่ในโหมดชั่งน้ำหนักตัวเลือก

Search Intent Commercial investigation

ตัวอย่าง:

  • หม้อทอดไร้น้ำมัน ยี่ห้อไหนดี
  • รีวิวเครื่องฟอกอากาศ
  • line man vs foodpanda
  • 10 อันดับ ร้านอาหารเยาวราช

การทำธุรกรรม (Transactional)

ผู้ใช้งาน “ค้นหาเพื่อจะทำการซื้อ” เรียกได้ว่ากำลังอยู่ในโหมดพร้อมจ่าย, ส่วนใหญ่พวกเขารู้อยู่แล้วว่าต้องการซื้ออะไร แค่กำลังมองหาแหล่งจำหน่าย

Search Intent Transactional

ตัวอย่าง:

  • ซื้อ ipad pro
  • คูปอง line man
  • ปัตตาเลี่ยน wahl pro basic ราคาถูก
  • walking pad xiaomi ราคา

NOTE: เป้าหมายของการสร้างเนื้อหาของคุณตรงกับลักษณะไหน ก็ให้เลือกใช้ ข้อความค้นหา (Query) / คำค้นหา (Keywords) ตามลักษณะนั้น จะช่วยให้สามารถบูสต์อันดับผลการค้นหาและทราฟฟิกได้อย่างมาก ได้ผู้ใช้งานที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดอีกด้วย

การวิเคราะห์ Search Intent เพื่อทำ SEO

ในการทำ SEO เราสามารถมองเห็น Search/User Intent ที่ซ่อนอยู่ในลักษณะของ ข้อความค้นและคำค้นหา ได้อย่างชัดเจน เหมือนดังตัวอย่างด้านล่างนี้

ตัวอย่าง: ใช้ข้อความค้นหา “ซื้อ i pad pro” ชัดเจนว่าผู้ใช้งานต้องการซื้อสินค้า (Transactional) ในทางตรงกันข้าม ใช้ข้อความค้นหา “วิธีตัดผม” กำลังมองหาข้อมูล (Informational)

ลักษนะของ คำค้นหา (Keyword) ทั่วไปที่ช่วยให้เราวิเคราะห์เพื่อแยก เจตนาของการค้นหา ได้ง่ายขึ้น

ข้อมูล

การนำทาง

การตรวจสอบเพื่อการซื้อ

การทำธุรกรรม

วิธี ชื่อแบรนด์ สุดยอด ซื้อ
อะไร ชื่อเว็บ ที่ดีที่สุด สั่งซื้อ
ใคร ชื่อหมวดหมู่ ลักษณะของสินค้า เช่น ขนาด, รุ่น, สี คูปอง
ยังไง ชื่อสินค้า การเปรียบเทียบ ชื่อร้าน
ที่ไหน ชื่อบริการ   ราคา
ทำไม     การตีราคา
คู่มือ      
สอน      
ไอเดีย      
เทคนิค      
เรียน      
ตัวอย่าง      

การปรับแต่งเนื้อหา ที่ทำ SEO ให้สอดคล้องกับ User Intent

User Intent เป็นตัวกำหนดประเภทของเนื้อหาที่คุณสร้าง” เมื่อจะสร้างเนื้อหาเพื่อทำ SEO ให้คิดไว้ก่อนล่วงหน้า (มองไปยังอนาคต ) ว่าเนื้อหาที่เรากำลังจะสร้าง หรือกำลังจะปรับปรุง จะถูกใช้เพื่อเจตนาใด? เพื่อให้ข้อมูล? ขายสินค้าหรือบริการ? ต้องการทราฟฟิคจากผู้ใช้งานประเภทใด?

วิเคราะห์ ข้อความค้นหา (Query) / คำค้นหา (Keywords)

เลือกใช้งาน ข้อความค้นหาและคำค้นหา ให้เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาที่คุณต้องการ สร้าง/ปรับปรุง เพื่อให้ตอบ เจตนาของผู้ใช้งาน

เลือกชนิดของหน้าเนื้อหา (Post/Page)

คำค้นหา เพื่อให้ข้อมูล (Informational)

  • โพสต์บล็อก (Blog Post)

คำค้นหา เพื่อให้ตรวจสอบก่อนการซื้อ (Commercial investigation) เลือกใช้

  • โพสต์บล็อก (Blog Post)
  • หน้าเว็บปกติ (Regular Page)

คำค้นหา เพื่อให้ทำธุรกรรม (Transactional) เลือกใช้

  • หน้าผลิตภัณฑ์ (Product Page)
  • หน้าหมวดหมู่สินค้า (Category Page)
  • หน้าบริการ (Service Page)
  • แลนดิ้งเพจ (Landing Page)

เลือกรูปแบบของเนื้อหา

เลือกรูปแบบของเนื้อหาที่เราจะเขียน ว่าจะให้ออกมาในลักษณะไหน เช่น

  • การแนะนำ
  • การแสดงความเห็น
  • การรีวิว
  • การเปรียบเทียบ
  • Top List
  • วิธีใช้
  • บทเรียนทีละขั้นตอน

สร้างจุดขายให้กับเนื้อหา

สร้างจุดขายที่ไม่เหมือนใครให้กับเนื้อหาของคุณ ทำให้เนื้อของคุณน่าสนใจและชวนให้ติดตาม มากกว่าเนื้อหาของเว็บไซต์อื่น ๆ

การสร้างจุดขายของเนื้อหา:

  • เนื้อหาที่ตรงประเด็น
  • สไตล์การเขียนที่น่าติดตาม
  • โครสร้างเนื้อหาที่อ่านง่าย
  • การใช้มีเดีย สร้างความประทับใจ เช่น รูปภาพ วิดีโอ พอดแคสต์
  • ฯลฯ

สร้างจุดเด่นให้กับตัวอย่างเนื้อหา

สร้างจุดเด่นให้กับตัวอย่างเนื้อหาของคุณ ที่แสดงบนหน้าผลการค้นหา (SERP) เมื่อมีการค้นหาบน Google Search เช่น “วิธีทำข้าวหมกไก่” ผู้ใช้งานจะพบ วิธีทำข้าวหมกไก่ มากมายจนเลือกไม่ถูก จากนับพันเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องและถูกจัดอันดับในคำค้นหานี้เช่นเดียวกันกับเว็บไซต์ของคุณ เพราะฉนั้นเราต้องโดดเด่นที่สุดจึงจะอยู่รอดและมีอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์อื่น ๆ

Search Intent SERP

การสร้างความโดดเด่นให้กับตัวอย่างเนื้อหา:

  • ตั้งหัวข้อ (Title Tag) ให้ดึงดูด
  • เขียนคำอธิบาย (Meta Description) ให้น่าสนใจ
  • ใช้งาน Rich Snippet เพื่อสร้างความโดดเด่น

ทั้งหมดนี้เรียกว่า การเพิ่มอัตรา Click-Through Rate

สรุป

Search Intent เป็นเรื่องที่คนทำ SEO อย่างเราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างเนื้อหาหรือปรับปรุงเนื้อหา ให้ตอบโจทย์พฤติกรรมการค้นหาจากผู้ใช้งานจริงบน Google Search, การที่เราสร้างเนื้อหาโดยคำนึงถึง User Intent (เจตนาของผู้ใช้งาน) เป็นหลัก จะทำให้เราได้รับทราฟฟิคและกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรายได้และเพิ่มผลกำไรให้กับเว็บไซต์ธุรกิจมากยิ่งขึ้น … แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับผม

ขอขอบคุณ ข้อมูลบางส่วนจาก: ahrefs.com

แชร์บทความนี้!

0 0 โหวต
ให้คะแนนบทความ
การติดตาม
แจ้งเตือน
guest

0 ความคิดเห็น
การตอบกลับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด