Rich Snippets เรียนรู้ทำความเข้าใจ ประเภทและวิธีการใช้งาน เพื่อการทำ SEO

แชร์บทความนี้!

Google SERP หรือ หน้าผลลัพธ์ของการค้นหาบนกูเกิลเสริ์ช ในปัจจุบัน เต็มไปด้วยคุณสมบัติในการแสดงผลที่โดดเด่น ซึ่งเราเรียกว่า Rich Snippets

ในบทความนี้จะแสดงให้คุณเห็น ถึงผลลัพธ์และคุณลักษณะที่หลากหลายของ Rich Snippet ประเภทต่าง ๆ ที่คุณสามารถค้นพบได้บนหน้าผลลัพธ์ของการค้นหา ในปี 2019 นี้ รวมทั้งวิธีการใช้ Rich Snippet ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อหน้าเว็บไซต์ของคุณ 

Google Rich Snippets คืออะไร ?

Rich Snippets คือ ตัวอย่างผลการค้นหาขั้นสูง ที่แสดงบนหน้าผลลัพธ์ของการค้นหา โดยจะแตกต่างจากผลลัพธ์ของการค้นหาทั่วไปที่เราพบเห็น ซึ่งผลการค้นหาที่เป็น ริช สนิปเปต จะมีข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม ในเชิงโครงสร้างอย่างโดดเด่น

ตัวอย่าง:

ผลการค้นหาแบบทั่วไป

ตัวอย่าง:

search result

ผลการค้นหาที่แสดงแบบ Rich Snippets

ตัวอย่าง: 

Review Rich Snippet

จะเห็นได้ว่าผลการค้นหาที่แสดงแบบ ริช สนิปเปต มีลักษณะที่โดดเด่นกว่าผลการค้นหาแบบทั่วไป ในส่วนของ ลิงก์นำทาง, ดาวและคะแนนรีวิว, ช่วงราคา


หมวดหมู่ของ Rich Snippets

แบ่งออกเป็น 6 หมวดหมู่หลักดังนี้

  • Sponsored (การสนับสนุของสปอนเซอร์)
  • Local Business (ธุรกิจท้องถิ่น)
  • Knowledge (ความรู้)
  • Media (สื่อ)
  • Rich Result (การเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ออร์แกนิก)
  • Search Query (ข้อความค้นหาแบบสอบถาม, คำถาม)

ทั้ง 6 หมวดหมู่ด้านบน คือ Rich Snippets หมวดหมู่สำคัญ ๆ ที่เราคัดเลือกมา ต่อไปเราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ ประเภทของ Rich Snippet ในแต่ละหมวดหมู่ รวมทั้งคุณลักษณะเด่นของมัน เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกใช้ ได้อย่างเหมาะสม กับหน้าเว็บไซต์แต่ละประเภทของคุณ

โดยจะมีการให้คะแนนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ “ความคุ้มค่า” (ผลลัพธ์กับเวลาในการทำ) และ “การเข้าถึง” (ทำแล้วมีการเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้นในระดับไหน)


Sponsored (การสนับสนุนของสปอนเซอร์)

Google Ads (ด้านบนและด้านล่าง)

Google Ads Rich Snippet

โฆษณาของ Google Ads จะปรากฏอยู่ด้านบนและด้านล่างของผลการค้นหาทั่วไป ทุกวันนี้คุณสามารถสร้างประโยชน์ให้กับเว็บไซต์ด้วยการใช้โฆษณาของ Google Ads ได้อย่างมากมาย เช่น การระบุหมายเลขโทรศัพท์, ช่องทางการติดต่อ, ไซต์ลิงก์, รีวิวและอื่น ๆ บนโฆษณาของคุณ

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
5/5 5/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท

ข้อดี: ด้วยการตั้งค่าโฆษณา Google Ads ที่ถูกต้อง คุณจะได้รับ CTR ที่ดีและปริมาณการเข้าถึงที่ยอดเยี่ยม เหมาะสำหรับทุกธุรกิจ เช่น อีคอมเมิร์ซ, ธุรกิจบริการ, ธุรกิจท้องถิ่น อื่น ๆ

ข้อด้อย: ตรงข้ามกับผลการค้นหาทั่วไป ที่สามารถนำการเข้าชมอย่างได้ต่อเนื่องโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม, ในโฆษณา Google Ads แบบ PPC คุณจะต้องจ่ายทุกครั้งเมื่อมีการคลิก

วิธีทำ: ซื้อโฆษณา Google Ads, ควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการใช้งานโฆษณาที่ถูกต้อง

Shop บน Google (ช็อปบนกูเกิล)

Google Shop Rich Snippet

อีกหนึ่งประเภทโฆษณาจาก Google เราเรียกมันว่า Product ads หรือ Product listing มันจะถูกแสดงผลอยู่บริเวณด้านบนสุดอย่างโดดเด่นในหน้าแสดงผลการค้นหา ตัวโฆษณาจะแสดง รูปภาพ ชื่อผลิตภัณฑ์ ราคา และผู้จำหน่าย เมื่อคลิกบนผลิตภัณฑ์จะถูกลิงก์ไปยังเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหรือไปที่ Google Shop

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
5/5 4/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจค้าปลีก, อีคอมเมิร์ซ

ข้อดี: เป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจค้าปลีก คุณสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ของคุณในโฆษณา ด้วย ROI ที่มั่นคง

ข้อด้อย: มีค่าใช้จ่าย

วิธีทำ: จำเป็นต้องมีบัญชี Google Ads และตั้งค่า Google Merchant เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงจะสามารถลงโฆษณาได้

Flights (เที่ยวบินและตั๋วเครื่องบิน)

Flights Rich Snippet

ตัวค้นหาเที่ยวบินที่ถูกฝังอยู่ใน SERP เป็นคุณลักษณะที่ยอดเยี่ยมจากมุมมองของผู้ใช้ แต่อย่างไรก็ตามเจ้าของเว็บไซต์บางรายอาจไม่พอใจกับ Rich Snippets ตัวนี้

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
3/5 1/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์สายการบิน

ข้อดี: ช่วยให้ผู้คนสามารถค้นหาเที่ยวบิน จากสายการบินของคุณได้ง่ายขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง

ข้อด้อย: ถึงแม้จะเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้ที่เป็นนักท่องเที่ยว แต่มันจะทำให้การเข้าถึงแบบออร์แกนิกในหน้าเว็บหลักของคุณลดลง

วิธีทำ: Google จะทำการรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของสายการบินและดึงข้อมูลเหล่านั้นมาแสดงใน SERP ด้วยตัวพวกเขาเอง, โดยเที่ยวบินบางส่วนอาจได้รับการสนับสนุนจากสายการบิน


Local Business (ธุรกิจท้องถิ่น)

Brand Knowledge Panel (ข้อมูลเพิ่มเติมของแบรนด์ธุรกิจท้องถิ่น)

Rich Snippet Brand Knowledge Panel

ข้อมูลของแบรนด์ธุรกิจท้องถิ่น จะแสดงในตำแหน่งด้านขวามือบน SERP โดยเป็นข้อมูลที่อ้างอิงมากจาก Google Business Profile

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
5/5 5/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะธุรกิจท้องถิ่น เช่น ร้านอาหาร โรงแรม อื่น ๆ

ข้อดี: เมื่อผู้ใช้ที่มีโอกาสจะเป็นลูกค้าทำการค้นหาธุรกิจของคุณใน Google พวกเขาจะพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายใน Brand Knowledge Panel แม้ว่าพวกเขาอาจไม่ได้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ แต่พวกเขาสามารถติดต่อคุณโดยตรงได้ในช่องทางอื่น ๆ เช่น โทรหาคุณ ไปยังร้านค้าของคุณ

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจในท้องถิ่น คุณสามารถสร้างโปรไฟล์ Google Business Profile สำหรับธุรกิจของคุณได้แบบฟรี ๆ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้ไปปรากฏบน Brand Knowledge Panel, โปรดอย่าลืมระบุข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ให้ครบถ้วน

Maps Pack (ตำแหน่งของธุรกิจท้องถิ่นบนแผนที่)

Maps Pack Rich Snippet

อีกรูปแบบหนึ่งของโปรไฟล์ Google Business Profile ที่ปรากฏบนแผนที่ โดยมีการจัดเรียงลำดับผลการค้นหาจากธุรกิจประเภทเดียวกัน ในบริเวณใกล้เคียงกันหรือพื้นที่เดียวกัน, คุณมักจะพบคุณลักษณะนี้เมื่อทำการค้นหา ธุรกิจในท้องถิ่นรอบตัว เช่น “ร้านพิซซ่า ใกล้ฉัน” หรือในตำแหน่งที่ระบุ เช่น “ร้านพิซซ่า ดอนเมือง”

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
4/5 4/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะธุรกิจท้องถิ่น เช่น ร้านอาหาร โรงแรม อื่น ๆ

ข้อดี: ช่วยให้ผู้ใช้ค้นพบหน้าร้านของคุณได้ง่ายขึ้น เมื่อพวกเขาทำการค้นหา ธุรกิจ บริการ ในตำแหน่งที่พวกเขาต้องการ

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจในท้องถิ่น คุณสามารถสร้างโปรไฟล์ Google Business Profile สำหรับธุรกิจของคุณได้แบบฟรี ๆ เพื่อให้ธุรกิจของคุณไปปรากฏบน Map Pack, รีวิวที่ดีจากงผู้ใช้และความนิยมของสถานที่จะช่วยให้อันดับของคุณดีกว่าคู่แข่งในพื้นที่เดียวกัน

Top Places List (รายการสถานที่ยอดนิยม)

Rich Snippets ประเภทนี้ ถูกทำออกมาเป็นตัวเบต้า ตั้งแต่ปี 2018, ธุรกิจหรือหน้าร้านของคุณจะได้รับการจัดให้อยู่ในรายการสถานที่ยอดนิยมบน SERP เมื่อมีองค์ประกอบที่ตรงตามข้อกำหนดของทาง Google

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
4/5 4/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะธุรกิจท้องถิ่น เช่น ร้านอาหาร โรงแรม อื่น ๆ

ข้อดี: หากธุรกิจหรือหน้าร้านของคุณปรากฏอยู่ในรายการดังกล่าว ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง มันจะทำให้ธุรกิจของคุณดูน่าเชื่อถือมีคุณภาพกว่าคู่แข่ง

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: จำเป็นต้องมีองค์ประกอบของโปรไฟล์ Google Business Profile ที่ตรงตามกฎของ Google สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

Similar Places List (รายการสถานที่ใกล้เคียง)

Similar Places List Rich Snippet

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
3/5 3/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภทโดยเฉพาะธุรกิจท้องถิ่น เช่น ร้านอาหาร โรงแรม อื่น ๆ

ข้อดี: อีกหนึ่งส่วนที่คุณสามารถได้รับประโยชน์โปรไฟล์ Google Business Profile ของคุณ

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: โปรไฟล์ Google Business Profile เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับ Rich Snippets ตัวนี้ คุณไม่สามารถทำให้โปรไฟล์ของคุณไปปรากฏได้โดยตรง ขึ้นอยู่กับอัลกอริทึมของ Google


Knowledge (ความรู้)

Answer Box (กล่องคำตอบ)

Answer Box Rich Snippet

มันจะปรากฏขึ้นสำหรับคำค้นหาที่กำลังมองหาคำตอบแบบทันใจ เช่น: “พิซซ่ามีกี่แคลอรี่”, “อากาศในกรุงเทพ”, “ประชากรในไทย” อื่น ๆ

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
0/5 0/5

 

เหมาะสำหรับ: ไม่มี

ข้อดี: ไม่มี

ข้อด้อย: มันมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ แต่ไม่มีประโยชน์สำหรับเจ้าของเว็บไซต์ มันให้คำตอบทันทีจากการค้นหา ดังนั้นผู้ใช้มักจะออกจากหน้าผลการค้นหาทันที โดยไม่คลิกที่ผลการค้นหาแบบทั่วไป นั่นหมายถึง CTR สำหรับผลการค้นหาของเว็บไซต์ทั่วไปจะลดลง

วิธีทำ: Google ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เพื่อนำเสนอ Rich Snippets ประเภทนี้, ดังนั้นหากคุณไม่ได้เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ เช่น Wikipedia ข้อมูลของคุณอาจจะไม่ปรากฏในช่องคำตอบ

Knowledge Panel (ข้อมูลเพิ่มเติมจากผลการค้นหาแบบปติ)

Knowledge Panel Rich Snippet

Knowledge Panel จะนำเสนอข้อมูลโดยละเอียดในตำแหน่งขวามือของ SERP เช่น ข้อมูลบริษัท บุคคลที่มีชื่อเสียง หนังสือ ภาพยนตร์ เพลง สถานที่และอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกดึงมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ต่าง ๆ เช่น CIA World Factbook, Wikidata หรือ Wikipedia 

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
1/5 2/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท, บล็อกส่วนตัว, เว็บไซต์ความรู้ อื่น ๆ

ข้อดี: ไม่มีประโยชน์โดยตรงสำหรับ SEO, ในทางตรงกันข้ามมีประโยชน์ทางอ้อม เช่น การได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้เนื่องจากข้อมูลใน Knowledge Panel นั้นมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เสมอ หากข้อมูลถูกดึงมาจากเว็บไซต์ของคุณ นั่นแสดงว่าเว็บไซต์ของคุณมีความน่าเชื่อถือ

ข้อด้อย: หากผู้ใช้จะพบคำตอบใน Knowledge Panel แล้ว พวกเขาอาจจะไม่ได้คลิกที่ผลการค้นหาแบบออร์แกนิคและมายังเว็บไซต์ของคุณ

วิธีทำ: สามารถทำได้โดยการใช้งาน Stuctured Data Markup หรือ Schema Markup, แต่อย่างไรก็ตาม Google สามารถมองข้ามโครงสร้างข้อมูลของคุณได้ หากเว็บไซต์ของคุณมีคะแนนความน่าเชื่อถือที่ต่ำ คุณควรสร้างหน้าบทความบน Wikipedia เกี่ยวกับเรื่องที่คุณต้องการและแนบลิงก์อ้างอิงมายังเว็บไซต์ของคุณจะเป็นวิธีที่ดีกว่า เมื่อ Google ดึงข้อมูลจาก Wikipedia ซึ่งเป็นบทความของคุณมาแสดงบน Knowledge Panel ลิงก์ของเว็บไซต์อ้างอิงที่แนบไว้จะได้รับประโยชน์ด้วย

Featured Snippet (ตัวอย่างข้อมูลที่โดดเด่น)

Featured Snippet Rich Snippet

มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับ Answer Box โดยจะให้คำตอบแบบทันทีสำหรับผู้ใช้ที่ค้นหา ตัวอย่างข้อมูลที๋โดดเด่นจะประกอบด้วย ตัวอย่างข้อมูลคำตอบแบบทันใจ ตามด้วยเนื้อหาเว็บไซต์ พร้อมลิงก์ไปยังเว็บไซต์ มันจะปรากฏอยู่บนสุดของผลการค้นหาแบบทั่วไปใน SERP สำหรับการค้นหาแบบคำถาม เช่น“ วิธีทำพิซซ่า”, “การทำ…”, “อะไรคือ…”

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
4/5 3/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท, บล็อกส่วนตัว, เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลจริง อื่น ๆ

ข้อดี: ตัวอย่างข้อมูลที่โดดเด่นจะปรากฏเหนือผลการค้นหาแบบออร์แกนิก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่มันจะดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ ตัวอย่างข้อมูลที่โดดเด่นมักมา จากเว็บไซต์ที่ติดอันดับ 1-7 บน SERP ซึ่งหมายความว่าแม้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะอยู่ในอันดับที่ 7 ในผลการค้นหาทั่วไป ก็สามารถปรากฏเป็นตัวอย่างข้อมูลที่โดดเด่นได้, เป็นการขโมยอันดับที่ 1 ที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ นั่นจะทำให้การเข้าชมเว็บไซต์ของคุณเพิ่มมากขึ้น เพียงแค่ข้อมูลจากเว็บไซต์ของคุณต้องตอบคำถามของผู้ใช้ได้อย่างเฉพาะเจาะจงและเป็นข้อมูลจริง

ข้อด้อย: หากคุณเป็นเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับ 1-7 โดยที่เว็บไซต์ของคุณอยู่ในอันดับที่ดีกว่าคู่แข่ง แต่เว็บไซต์ของคู่แข่งกลับถูก Google เลือกไปแสดงบน Featured Snippet นั่นจะทำให้ CTR ของเว็บไซต์คุณลดลงและอาจศูนย์เสียอันดับให้คู่แข่ง

วิธีทำ: เขียนเนื้อหาที่สามารถตอบคำถามของผู้ใช้ได้อย่างตรงจุดและมีประโยชน์, คุณไม่สามารถใช้ Structured Data Markup หรือ Schema Markup เพื่อทำ Featured Snippet ได้ แต่มีหนึ่งคำแนะนำที่อาจช่วยคุณ คือ ใส่หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย ที่สามารถตอบคำถามผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน พร้อมรายละเอียดประกอบในแต่ละหัวข้อ 3-5 บรรทัด, การทำ Table of Contents


Media (สื่อ)

Image Pack / Carousel (รูปภาพแนะนำ)

 

Image Pack Rich Snippet

Image Pack เป็นคุณสมบัติทั่วไปใน SERP Google มักจะแสดงภาพที่เกี่ยวข้องกับ Keywords ที่คุณใช้ค้นหา เช่น “พิซซ่า”, “ถุงเท้าสีแดง”

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
1/5 3/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท, บล็อกส่วนตัว, เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลจริง อื่น ๆ

ข้อดี: ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณโดยการคลิกที่รูปภาพ

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: ด้วยการปรับแต่งไฟล์ภาพของคุณให้ดี

  • ชื่อไฟล์ที่สื่อความหมายของรูปภาพ
  • การเพิ่ม HTML alt text 
  • URL ที่สื่อความหมาย
  • ไฟล์ภาพที่มีคุณภาพดี (ความคมชัด)
  • การบีบอัดขนาดไฟล์ภาพที่เหมาะสม

Video (วิดีโอ)

Video Rich Snippet

Video Rich Snippet

อีกหนึ่งช่องทางที่คุณสามารถทำให้เนื้อหาของคุณปรากฏใน SERP ด้วยการใช้วิดีโอที่อัพบนเว็บไซต์ของคุณ หรือวิดีโอจาก Youtube ผลลัพธ์จะปรากฏเป็นภาพขนาดย่อถัดจากผลลัพธ์ทั่วไป หรือ Knowledge Panel คุณสามารถหาอ่านเคล็ดลับการตลาดวิดีโอที่มีประโยชน์ได้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต
 
ความคุ้มค่า การเข้าถึง
4/5 3/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บที่เนื้อหาเกี่ยวกับ การรีวิว, วิธีการทำสิ่งต่าง ๆ, บทเรียน อื่น ๆ

ข้อดี: เป็นความคิดที่ดีที่คุณจะมีวิดีโอบนเว็บไซต์ของคุณ มันเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้และดึงดูดความสนใจ หากวิดีโอของคุณปรากฏใน SERP พร้อมภาพขนาดย่อของวิดีโอ มันจะช่วยเพิ่ม CTR และผู้ใช้จะอยู่ในเว็บไซต์ของคุณนานขึ้น

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: อัปโหลดและปรับแต่งวิดีโอในช่อง YouTube ของเว็บไซต์ของคุณ ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีมันสามารถช่วยเพิ่มปริมาณการเข้าชมมายังเว็บไซต์ของคุณได้ หากคุณตัดสินใจที่จะอัปโหลดวิดีโอบนเว็บของคุณเอง (หรือ embed) วิดีโอในเว็บไซต์ของคุณจะต้องมีการระบุ Structured Data Markup หรือ Schema Markup ที่เหมาะสม ตามแนวทางของ Google

Top Stories (เรื่องเด่น)

Top Stories Rich Snippet News Rich Snippet

เรื่องเด่นจะปรากฎที่ด้านบนสุดและบางส่วนของด้านล่าง ใน SERP ส่วนใหญ่จะปรากฏเมื่อมีการใช้คำค้นหาเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม หรือบุคคลที่เป็นประเด็น เช่น “ธนาธร”, “เลือกตั้งไทย”
 
ความคุ้มค่า การเข้าถึง
5/5 3/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บข่าว, เว็บที่มีเนื้อหาอัพเดทตามเหตุกาณ์ปัจจุบัน

ข้อดี: เป็นการแสดงผลที่โดดเด่นมากบน SERP มาในรูปแบบของการ์ดสแตนด์อโลน ที่มีรูปภาพ ชื่อและวันที่ เมื่อทำการคลิกก็จะนำผู้ใช้ไปยังหน้าเนื้อหาบนเว็บไซต์

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: ต้องมี Strutured Data Mark Up บนหน้าเว็บของคุณในหมวดหมู่ที่เหมาะสม แนะนำให้ทำหน้าเว็บเวอร์ชัน AMP ด้วย, นี่คือเคล็ดลับเบื้องต้น

  • เขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
  • เขียนเนื้อหาที่เป็นความจริง
  • เขียนเนื้อหาแบบ in-time
  • เขียนเนื้อหาที่สดใหม่ ไม่คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่น
  • ใช้งานฟังก์ชัน ขอปรากฏเนื้อหาในดัชนีข่าว (Google News Publisher Center) ของ Google News

In-depth Articles (บทความเชิงลึก)

In-depth Articles Rich Snippet

(ภาพจาก: https://bit.ly/2VyBFac)

บทความเชิงลึก ประกอบด้วยเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเจาะลึกได้

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
4/5 2/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลจริง ที่มีเนื้อหายาวและมีคุณภาพสูง โดยผู้เชี่ยวชาญ

ข้อดี: นอกจาก CTR ที่สูงขึ้นเล็กน้อย มันอาจทำให้ผู้ใช้มีการรับรู้ถึงแบรนด์ของคุณได้ดีขึ้น รวมถึงความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: ขึ้นอยู่กับอัลกอริทึมของ Google, ภายในเว็บไซต์ของคุณจะต้องมีคะแนนความน่าเชื่อถือสูงและมีเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง ไม่สำคัญว่าเว็บของคุณจะเป็นเว็บข่าวขนาดใหญ่หรือบล็อกส่วนตัว หากเนื้อหามีความยาวและมีคุณภาพสูง Google อาจรวมเว็บไซต์ของคุณไว้ใน In-depth Articles และอย่าลืมใส่ Structured Data Markup หรือ Schema Markup ในหมวด Arcticle ให้กับหน้าเว็บของคุณ

Tweet (ผลการค้นหาที่ดึงมาจากวิตเตอร์)

Tweet Rich Snippet

(ภาพจาก: https://bit.ly/2Ypm4qy)

ในบางครั้งเรื่องที่กำลังได้รับความนิยมบน Twitter ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาของผู้ใช้ มักจะถูกดึงมาแสดงบน SERP

 

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
2/5 3/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ข่าว, บริษัททั่วไป, แบรนด์ส่วนบุคคล

ข้อดี: เป็นวิธีที่ดีในการโปรโมตบัญชี Twitter และแบรนด์ของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นเจ้าของเว็บข่าว

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: คุณต้องมีบัญชี Twitter ที่ได้รับการยืนยันและทวีตเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมที่เป็นเรื่องจริง อีกแนวทางหนึ่งถ้าคุณเป็นองค์กรหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง ผู้คนมักจะสงสัยเกี่ยวกับชีวิตประจำวันหรือความคิดของคุณ พวกเขาจะค้นหาและติดตามการทวีตของคุณ หากมันมากพอ อาจจะทำให้ Google ทำการดึงข้อความทวีตเหล่านั้นมาแสดงบน SERP

App Ranking (การจัดอันดับแอป)

App ranking Rich Snippet

(ภาพจาก: https://bit.ly/2Ypm4qy)

หากเว็บไซต์ของคุณมีเวอร์ชันที่เป็นแอปพลิเคชันสำหรับมือถือ คุณสามารถได้รับประโยชน์จากการจัดทำดัชนีแอปบน SERP เวอร์ชันมือถือได้, เมื่อผู้ใช้ค้นหาแอพทั่วไป เช่น “แอปพยากรณ์อากาศ” ตารางแอปที่เกี่ยวข้องจะปรากฏขึ้นร่วมกับผลการค้นหาแอปพลิเคชันแบบทั่วไป หากผู้ใช้ทำการคลิกบนผลการค้นหาเว็บไซต์คุณ ระบบจะเชื่อมโยงหน้าเว็บไปยังแอปได้โดยตรง หากผู้ใช้ยังไม่ได้ติดตั้งแอป จะเชื่อมโยงไปที่ Google Play Store หรือ App Store ก่อน เพื่อให้ผู้ใช้ติดตั้งแอปเป็นอันดับแรก

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
4/5 2/5

 

เหมาะสำหรับ: ธุรกิจที่มีกลยุทธ์ในการใช้แอปพลิเคชันมือถือ เช่น เว็บข่าว, บริกาสตรีมมิ่ง อื่น ๆ

ข้อดี: CTR ที่สูงขึ้น ผลการค้นหาที่แสดงด้วยไอคอนแอปซึ่งทำให้สะดุดตามากขึ้น

  • เนื้อหาที่ปรากฏในแอป สามารถมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าบนเบราเซอร์
  • หากผู้ใช้ยังไม่ได้ติดตั้งแอป มันจะนำพวกเขาไปสู่การติดตั้งแอปเป็นอันดับแรก
  • หากผู้ใช้ได้ติดตั้งแอปของคุณแล้ว คุณสามารถสื่อสารกับพวกเขาผ่านการแจ้งเตือนบนแอป ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมกับธุรกิจของคุณมากขึ้น

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: โดยพื้นฐานแล้วมีสองขั้นตอน

  • เตรียมแอปของคุณเพื่อให้สามารถเปิด Universal Links ได้
  • วางแผนเนื้อหาของคุณ

คำแนะนำเพิ่มเติม: โดย MOZ และ Google Developers

Job Posting (ประกาศรับสมุครงาน)

Jobs Rich Snippet

คุณลักษณะใหม่บน SERP ที่เปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2017 มันจะปรากฏขึ้นเมื่อผู้ใช้ค้นหาวลีที่เกี่ยวกับงาน เช่น “งานใกล้ฉัน” หรือ “งาน seo”, ประกาศรับสมัครงานที่เกี่ยวข้องจะปรากฏขึ้นมาในส่วนบนของผลการค้นหาทั่วไป แบบ 3 อันดับ และสามารถดูงานอื่นเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่าง, ประกาศรับสมัครงานเหล่านี้สร้างขึ้นจาก Structured Data Markup หรือ Schema Markup ของเว็บไซต์ที่มีการรับสมัครงานต่าง ๆ

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
1/5 4/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์หางาน, เว็บไซต์ธุรกิจทั่วไป ที่ต้องการรับสมัครพนักงาน

ข้อดี: ประโยชน์เพียงอย่างเดียวของ Rich Snippets นี้คือ การทำให้โพสต์ประกาศรับสมัครงานของคุณ ถูกพบเห็นได้เร็วและง่ายยิ่งขึ้น บน SERP

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: เลือกใช้ Structured Data Markup หรือ Schema Markup ที่เหมาะสมกับโพสต์ประกาศรับสมัครงานของคุณ

Video Streaming (วิดีโอสตรีมมิ่ง)

Video Streaming Rich Snippet

Podcast (พอดแคสต์)


Rich Result (การเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ออร์แกนิก)

Star Rating – Product, Review, Recipe… (เรตติ้งบนหน้าเว็บ)

Review Star Rich Snippet

สตาร์เรตติ้งมักปรากฏพร้อมกับผลการค้นหาที่เป็นผลิตภัณฑ์, บทวิจารณ์, อาหารหรือสูตรอาหาร มันช่วยทำให้ผลการค้นหาของคุณเป็นที่สะดุดตาบน SERP

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
3/5 5/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ, รีวิว, สูตรอาหาร, ผตลิตภัณฑ์และบริหาร

ข้อดี: ช่วยเพิ่ม CTR ที่สูงขึ้น, ดาวสีส้มดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ได้อย่างมาก ในหน้าสีขาวของ Google SERP จากกรณีศึกษา Rich Snippets นี้ทำให้ CTR สูงขึ้นถึง 35%

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: การทำสตาร์เรตติ้งนั้นไม่ยาก ด้วยการเพิ่ม Structured Data Markup หรือ Schema Markup ประเภท Reviews ในหน้าผลิตภัณฑ์ของคุณ – ตัวอย่างด้านล่าง

<script type="application/ld+json">
{
  "@context": "http://schema.org/",
  "@type": "Product",
  "name": "รองเท้าผ้าใบ",
  "description": "รองเท้าผ้าใบที่นุ่มที่สุดที่คุณจะตกหลุมรัก",
  "aggregateRating": {
    "@type": "AggregateRating",
    "ratingValue": "69",
    "bestRating": "5",
    "ratingCount": "19"
  }
}
</script>

Price, Stock – Product (ราคา, จำนวนสต็อกสินค้า และอื่น ๆ)

Price Rich Snippet

(ภาพจาก: https://bit.ly/2Ypm4qy)

การแสดง “ราคา” เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญบนผลการค้นหาแบบออร์แกนิก เช่น ราคาของผลิตภัณฑ์, คอร์ส หรือ บริการ นอกจากนี้คุณยังสามารถใส่รูปภาพและข้อมูลเพิ่มเติมมากมาย เช่น จำนวนสต็อค, หมวดหมู่, จำนวนแคลอรี่สำหรับอาหาร, ผู้แต่งหนังสือ, วันที่เผยแพร่และอื่น ๆ อีกมากมาย คุณสามารถค้นหาการระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Schema.org ในหมวด Product

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
3/5 5/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ, ผลิตภัณฑ์และบริการ

ข้อดี: การแสดงราคาและข้อมูลที่จำเป็นภายในผลลัพธ์แบบออร์แกนิกจะช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณดูสะดุดตามากขึ้นบน SERP ซึ่งจะนำไปสู่ CTR ที่สูงขึ้น

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: การระบุ Structured Data Markup หรือ Schema Markup ประเภท Product นั้นไม่ยาก หากคุณมีเว็บไซต์ที่เป็น WordPress และใช้งาน Woocommerce สามารถเพิ่มมันได้อย่างง่ายเลยทีเดียว หรือจะทำด้วยตัวเองก็ได้เช่นกัน – ตัวอย่างด้านล่าง

<script type="application/ld+json">
{
"@context": "http://schema.org/",
"@type": "Product",
"name": "Nike Air",
"image": [
"https://store.com/img/1x1/photo.jpg",
"https://store.com/img/4x3/photo.jpg",
"https://store.com/img/16x9/photo.jpg"
]
	,
	"description": "รองเท้าผ้าใบ Nike Air ล่าสุดสำหรับชายหนุ่มทุกคน มีทั้งสีแดง น้ำเงินและเขียว",
	"brand": {
	"@type": "Thing",
	"name": "Nike Air"
	},
	"aggregateRating": {
	"@type": "AggregateRating",
	"ratingValue": "4.8",
	"reviewCount": "56"
	},
	"offers": {
	"@type": "Offer",
	"priceCurrency": "THB",
	"price": "2847.00",
	"itemCondition": "http://schema.org/NewCondition",
	"availability": "http://schema.org/InStock",
	"seller": {
	"@type": "Organization",
	"name": "THShoes store"
	}
	}
}
</script>

Event (งานอีเว้นท์)

Event Rich Snippet

(ภาพจาก: https://bit.ly/2Ypm4qy)

 

อีเว้นท์จะถูกแสดงในส่วนของ Knowledge Panel เมื่อผู้ใช้ทำการค้นหาโดยการใช้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรืองานจัดแสดงต่าง ๆ บางครั้ง Google จะดึงข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ มาแสดงให้คุณได้เห็น เช่น งานคอนเสิร์ต งานวิ่ง

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
3/5 4/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ดนตรี, การแสดง, เทศกาล, คอร์ส อื่น ๆ

ข้อดี: CTR ที่สูงขึ้น, มันค่อนข้างจะดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานเสมอ ภาพตัวอย่างกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมสามารถทำให้อีเว้นท์ของคุณโดดเด่นยิ่งขึ้น

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: ระบุ Structured Data Markup บนหน้าเว็บของคุณเกี่ยวกับ Event

Breadcrumbs (ตัวนำทางบนหน้าเว็บ)

Breadcrumbs Rich Snippet

คุณลักษณะของ Rich Snippets นี้ เกี่ยวกับลิงก์การนำทางเว็บไซต์บน SERP ซึ่งจะแทนที่ URL แบบดังเดิมด้วยชื่อหมวดหมู่ที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น www… > หน้าแรก > ร้านอาหาร … บนเดสก์ท็อปคุณสามารถทำได้ด้วยการระบุโครงสร้างหมวดหมู่ที่แน่ชัดบนเว็บไซต์สำหรับบทความต่าง ๆ, บนมือถือ SERP จะแสดงคุณลักษณะนี้ โดยอัตโนมัติสำหรับผลลัพธ์ทั้งหมด

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
1/5 5/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท, โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายหมวดหมู่

ข้อดี: เป็นประโยชน์ต่อประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ ช่วยให้พวกเขาเข้าใจหมวดหมู่ของเนื้อหาที่กำลังจะคลิกเข้าไป ซึ่งอาจนำไปสู่ CTR ที่สูงขึ้น, ช่วยให้บอทเข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณมากยิ่งขึ้นจากหมวดหมู่ที่ระบุ ง่ายต่อการเข้าไปเก็บข้อมูลและจัดทำดัชนี

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: เป็นเรื่องง่ายมากที่จะทำ Breadcrumbs ให้กับเว็บไซต์ของคุณ หากเว็บไซต์ของคุณเป็น WordPress สามารถทำได้ด้วยปลั๊กอิน SEO อย่างเช่น Yoast SEO

Sitelinks (ไซต์ลิงก์)

Sitelinks Rich Snippet

คุณลักษณะที่โดดเด่นเป็นพิเศษนี้ จะปรากฏขึ้นบน SERP เมื่อมีการค้นหาโดยใช้ ชื่อแบรนด์, ชื่อเว็บไซต์ หรือ URL, ไซต์ลิงก์เหล่านี้จะเป็นตัวนำทางไปยังหน้าหรือหมวดหมู่ที่โดดเด่นภายในเว็บของคุณ พร้อมชื่อหน้าและคำอธิบาย อาจมีได้ตั้งแต่ 2 – 10 ไซต์ลิงก์ ลักษณะที่ปรากฏบนมือถือจะแตกต่างจากเดสก์ท็อปเล็กน้อย

 

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
2/5 4/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท, โดยเฉพาะถ้าแทรฟฟิคหลักของคุณมาจากการใช้ ชื่อแบรนด์ ในการค้นหา

ข้อดี: ช่วยทำให้ CTR สูงขึ้นอย่างมาก

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: คุณไม่สามารถทำหรือควบคุมการเกิดไซต์ลิงก์ได้โดยตรง, เฉพาะ Google เท่านั้นที่ตัดสินใจว่าจะแสดงไซต์ลิงก์ให้กับเว็บไซต์ของคุณหรือไม่แสดง อย่างไรก็ตามวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดคือการมีลำดับชั้นของเมนูนำทางด้านบนที่ชัดเจน แนะนำให้ใช้ชื่อเมนูเป็น Achor Text ที่สื่อความหมายได้เข้าใจง่าย, ไซต์ลิงก์เป็นลิงก์ที่ถูกดึงมาจากเมนูส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ โดยเฉพาะเมนูด้านบนสุด

Search Box (กล่องค้นหา)

Search Box Rich Snippet

คุณลักษณะที่โดดเด่นนี้ ปรากฏขึ้นเหนือไซต์ลิงก์ ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้โดยตรงบน SERP

ความคุ้มค่า การเข้าถึง
2/5 4/5

 

เหมาะสำหรับ: เว็บไซต์ธุรกิจทุกประเภท, โดยเฉพาะถ้าแทรฟฟิคหลักของคุณมาจากการใช้ ชื่อแบรนด์ ในการค้นหา

ข้อดี: โดยส่วนตัวคิดว่า Search Box นี้คงไม่เป้นที่นิยมของผู้ใช้จริง ๆ แต่อย่างไรก็ตามมันช่วยให้เว็บไซต์ของคุณโดดเด่นบน SERP อย่างมาก นั่นอาจนำไปสู่ CTR ที่สูงขึ้น, ช่องค้นหานี้ยังนำผู้ใช้ไปยังผลลัพธ์การค้นหาของหน้าเว็บภายในของคุณได้ง่ายขึ้น

ข้อด้อย: ไม่มี

วิธีทำ: ช่องค้นหาสามารถทำได้ด้วยการใช้ Schema Markup ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่าง

<script type="application/ld+json">
 {
 "@context": "http://schema.org",
 "@type": "WebSite",
 "url": "https://mangools.com/",
 "potentialAction": {
 "@type": "SearchAction",
 "target": "https://mangools.com/blog?s={search_term_string}",
 "query-input": "required name=search_term_string"
 }
 }
 </script>

นอกจากนี้คุณยังสามารถปิดการใช้งานช่องค้นหาสำหรับเว็บไซต์ของคุณบน SERP ในตอนที่ไม่ต้องได้ด้วย Meta Tag นี้

<meta name="google" content="nositelinkssearchbox" />

Search Query (ข้อความค้นหาแบบสอบถาม, คำถาม)

Rich Snippets ต่อไปนี้ไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถทำหรือกำหนดมันได้, คุณลักษณะของพวกมันช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลที่พวกเขาต้องการบนระบบของ Google Search ได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้มีประโยชน์ต่อเว็บไซต์ของคุณ แต่มันอาจส่งผลเสียต่อ CTR กับผลการค้นหาทั่วไป

Top Carousel (การสอบถามยอดนิยมและเกี่ยวข้อง)

Top Carousel Rich Snippet

Carousel เป็น Rich Snippets บน SERP ที่โดดเด่นมาก มันจะปรากฏขึ้นเหนือผลลัพธ์ทั่วไปด้านล่างของแถบค้นหา มันมักจะแสดงรายการของผลการค้นหาที่คล้ายกันหรือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะประกอบด้วย ภาพและชื่อ เมื่อคลิกมันจะนำพาคุณไปยังหน้าผลลัพธ์การค้นหาของเรื่องนั้น ๆ คุณมักจะพบมันเมื่อใช้คำค้นหาที่เป็นคำโดยรวมกล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น “อนุสาวรีย์ในไทย”, “นักกีฬาไทย”

ข้อดี: มีประโยชน์กับผู้ใช้ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น

ข้อเสีย: ไม่มีประโยชน์สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป

วิธีทำ: ไม่มี

Specify Query (การสอบถามแบบเฉพาะเจาะจง)

Specify Query Rich Snippet

คุณลักษณะนี้ ทำงานเหมือนเป็นตัวแสดงข้อมูลเกี่ยวข้องกับคำค้นหาแบบคำถามของคุณ เช่น “สไปเดอร์แมนมีกี่ภาค”, มันจะปรากฏพร้อมผลการค้นหาแบบทั่วไป และ Knowledge Panel (บางครั้ง) ในลักษณะของกล่องสีขาวทางด้านขวา (บนเดสก์ท็อป) หรือโดยตรงในฟีด (บนมือถือ)

ข้อดี: มีประโยชน์กับผู้ใช้ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น

ข้อเสีย: ไม่มีประโยชน์สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป

วิธีทำ: ไม่มี

Related Searches (การค้นหาที่เกี่ยวข้อง)

Related Searches Rich Snippet

คุณลักษณะที่แนะนำคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาของคุณ จะปรากฏอยู่ที่ด้านล่างสุดบน SERP, หากคุณคลิกที่ชุดคำใดคำหนึ่ง ระบบจะใช้ชุดคำนั้นในการค้นหาและแสดงผลการค้นหาใหม่ให้กับคุณ

ข้อดี: มีประโยชน์กับผู้ใช้ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านคำค้นหาที่คล้ายกันได้ง่ายขึ้น

ข้อเสีย: ไม่มีประโยชน์สำหรับเว็บไซต์ทั่วไปโดยตรง, แต่สำหรับการทำ SEO เราสามารถใช้ชุดคำเหล่านี้มาเป็น Word Density ในเนื้อหาของเราได้ เพื่อกระจายการค้นหาในคำที่เกี่ยวข้อง

วิธีทำ: ไม่มี

People Also Ask (คำถามอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ที่ผู้คนมักสอบถาม)

People Also Ask Rich Snippet

คุณลักษณะนี้จะปรากฏบน SERP เมื่อมีการใช้ค้นหาแบบคำถาม เช่น “วิธีทำพิซซ่า”, “วิธีดูแลผม”, การปรากฏขึ้นมีเพียง 20%-24% เท่านั้น หากคุณคลิกที่หัวข้อคำถามแนะนำใด ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นคำตอบจะปรากฏออกมาใต้หัวข้อในทันทีแบบย่อ ๆ และหากทำการคลิกที่ลิงก์เว็บไซต์มันจะนำคุณไปยังเว็บไซต์ที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น

ข้อดี: มีประโยชน์กับผู้ใช้ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านคำค้นหาที่เป็นคำถามคล้ายคลึงกันได้ง่ายขึ้น

ข้อเสีย: ไม่มีประโยชน์สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป

วิธีทำ: ไม่มี

Similar Entities (ข้อมูลบุคคล, นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง)

Similar entities Rich Snippet

(ภาพจาก: https://bit.ly/2Ypm4qy)

คุณลักษณะนี้มักจะปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของ Knowledge Panel, แต่อย่างไรก็ตามอาจจะปรากฏบน SERP แบบสแตนด์อโลนด้านล่างหรือเหนือผลลัพธ์แบบออร์แกนิก โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล หรือแบรนด์ ที่มีชื่อเสียง, เมื่อคุณใช้คำค้นหา เช่น “บุคคลผู้มีชื่อเสียง”, “นักธุรกิจที่มีชื่อเสียง” 

ข้อดี: มีประโยชน์กับผู้ใช้ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น

ข้อเสีย: ไม่มีประโยชน์สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป

วิธีทำ: ไม่มี

Top Things To Do (กิจกรรมน่าสนใจ)

Top Things To Do Rich Snippet


สรุป Rich Snippets

นั่นคือบางส่วนของ Rich Snippets และคุณลักษณะ ที่น่าสนใจ คุณสามารถเลือกใช้งานพวกมันได้อย่างเหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ของคุณ มันจะช่วยให้ผลลัพธ์ของการค้นหาของเว็บไซต์คุณปรากฏบน SERP ได้อย่างโดดเด่นกว่าใคร หากมีข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์สามารถแจ้งให้เราทราบได้ที่กล่องคอมเมนต์ด้านล่าง

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก: https://bit.ly/2Ypm4qy

แชร์บทความนี้!

1 1 โหวต
ให้คะแนนบทความ
การติดตาม
แจ้งเตือน
guest

0 ความคิดเห็น
เก่าที่สุด
ใหม่ล่าสุด โหวตมากที่สุด
การตอบกลับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด