การอัปเดตล่าสุดของ Google AI ที่ประกาศในงาน Google Search On ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ การวิเคราะห์ SEO และการเผยแพร่เนื้อหา มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ครับ
การอัปเดตของ Google AI ที่มีผลกระทบต่อ SEO
Google ประกาศการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อเว็บไซต์ที่ Google จัดอันดับในผลการค้นหา การเปลี่ยนแปลงบางอย่างส่งผลกระทบ 10% ของการค้นหา บางอย่างส่งผลกระทบ 7% และการเปลี่ยนแปลงของ BERT ที่ส่งผลกระทบต่อการค้นหาเกือบ 100% ในขณะนี้ จากปีที่ผ่านมาเพียง 10% เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ค้นหา ทำให้ผู้คนค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
การอัปเดตที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับการทำ SEO มีดังต่อไปนี้
Google BERT ถูกใช้งานกับคำค้นหาภาษาอังกฤษเกือบ 100% แล้ว
BERT เป็นเทคนิคสำหรับการฝึกอบรมก่อนการประมวลผลภาษาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้ Google เข้าใจคำศัพท์ภายในบริบทของคำรอบข้าง Google กล่าวว่า BERT ช่วยให้ Google Search เข้าใจเจตนาของข้อความค้นหาได้ดีขึ้น เมื่อประกาศใช้งานครั้งแรก (ธันวาคม 2019) มีการระบุว่า BERT ถูกใช้งานใน 10% ของข้อความค้นหาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้อความค้นหาแบบหางยาว (Long-Tail Keywords)
ตอนนี้ Google ออกมาประกาศอีกครั้งว่า BERT ได้ถูกใช้งานในคำค้นหาภาษาอังกฤษเกือบทุกคำแล้ว เพื่อให้ผู้ค้นหาบน Google Search ได้รับผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงที่สุด
Passage Ranking (จัดอันดับผลการค้นหาจากข้อความในหน้าเว็บ)
อัปเดตแล้ว – เป็นเรื่องยากในการที่จะแสดงผลการค้นหาให้กับ “คำค้นหาที่เฉพาะเจาะจง” เมื่อเร็ว ๆ Google ได้สร้างความก้าวหน้าของรูปแบบในการจัดอันดับบนหน้าผลการค้นหา สำหรับ “คำค้นหาที่เฉพาะเจาะจง” ไปอีกขั้น ไม่เพียงแต่สามารถจัดอันดับหน้าเว็บแบบธรรมดา (Page Ranking) แต่ยังสามารถจัดอันดับของ “ย่อหน้า” หรือ “ข้อความในแต่ละบรรทัด” ที่สามารถตอบคำถามจากการค้นหาของผู้ค้นหาได้อีกด้วย สิ่งนี้ถูกเรียกว่า Passage Ranking
การอัปเดตนี้จะส่งผลกระทบถึง 7% ของข้อความค้นหา ในทุกภาษา

ตัวอย่าง
เมื่อเราทำการค้นหา ด้วย “คำค้นหาที่เฉพาะเจาะจง” เช่น ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือฮาวทู ต่าง ๆ, Google จะแสดงผลการค้นหาแบบ Passage Ranking ให้กับเรา ด้วยการนำเอา “ย่อหน้า” หรือ “ข้อความในบรรทัด” ที่อาจเป็นคำตอบที่ต้องการของผู้ค้นหาขึ้นมาแสดงให้ในทันที เมื่อคลิกเข้าไป Google จะทำการ Auto-Scrolling ไปยังย่อหน้าหรือบันทัดนั้นให้เราอีกเช่นกัน พร้อมกับการทำไฮไลท์สีเหลืองบนข้อความให้เห็นเด่นชัด
ปล. Passage Ranking ไม่ได้ทำงานซ้อนทับกับ Page Raking แบบปกตินะครับ หลายคนมักเข้าใจผิด Passage Ranking จะแสดงก็ต่อเมื่อมีการใช้ “คำค้นหาที่เฉพาะเจาะจง” และหน้าเว็บของเรามีเนื้อหาบางส่วนที่ให้คำตอบแก่ผู้ค้นหาได้เท่านั้น, การจัดอันกับของ Page Raking ใน Primary Keywords (คีย์เวิร์ดหลัก) ยังคงทำงานแบบปกติ
ชมภาพผลการค้นหาด้านล่างนี้ได้เลยครับ, Passage Ranking มีผลแบบเดียวกันทั้งบน Mobile และ Desktop แต่ผมจะขอยกภาพตัวอย่างแค่บน Mobile นะครับ
ผลการค้นหา (ภาษาอังกฤษ): “how many word in a paragraph”
![]() |
![]() |
ผลการค้นหา (ภาษาไทย): “หนึ่งย่อหน้าควรมีกี่บรรทัด”
![]() |
![]() |
ถึงแม้ว่า John Mueller จาก Google จะบอกว่าไม่จำเป็นต้องปรับแต่งเนื้อหาให้ติดอันดับแบบ Passage Ranking แต่กูเกิลจะเป็นผู้เลือกเอง (ฟังดูแปลก ๆ ใช่ไหมละครับ?) ในวินาทีที่ 0:31 จากคลิป English Google SEO office-hours from October 30, 2020
ส่วนตัวแล้วนั้นผมคิดว่าการที่เราทำเนื้อหาให้รองรับหรือช่วยให้ Google ตัดสินใจในการประมวลผลเนื้อหาของเราได้ง่ายขึ้นสำหรับ Passage Ranking นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ (ปกติ Google ชอบมุมมิบเวลาพูดถึงเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว)
ผมจึงมีคำแนะนำดังต่อไปนี้
- เขียนเนื้อหาโดยการใช้ Long-Tail Keywords ในเนื้อหาให้มากยิ่งขึ้น
- รีเสิร์จ Long-Tail Keywords จาก Autocompleted หรือ Searches related to … บน Google Search หรือใช้เครื่องมือ SEO ที่มีฟีเจอร์เหล่านี้
- แบ่งหัวข้อย่อยและย่อหน้าให้มากขึ้น
- เขียนเนื้อหาย่อหน้าแรกของแต่ละหัวข้อ ให้กระชับได้ใจความ ตรงประเด็น, เพื่อให้ Google สามารถนำย่อหน้าหรือข้อความในเนื้อหาไปแสดงผลลัพธ์ได้ง่าย และมีประโยชน์ต่อผู้ค้นหามากที่สุด
เพิ่มเติม: อย่าลืมปรับแต่งองค์ประกอบทาง SEO อื่น ๆ ด้วยนะครับ เท่านี้ก็มีโอกาศในการติดอันดับแบบ Passage Ranking แล้ว
Subtopics (แสดงผลการค้นของหัวข้อย่อย)
การอัปเดตจะมาในช่วงปลายปี – Google ใช้โครงข่ายประสาทเทียมเพื่อทำความเข้าใจ “หัวข้อย่อย” ที่เกี่ยวกับความสนใจของผู้ค้นหา ซึ่งจะช่วยให้เนื้อหามีความหลากหลายมากขึ้นบนหน้าผลการค้นหา เมื่อใช้ “คำค้าหาแบบกว้าง” (Broad Keywords)
ตัวอย่าง
เช่น หากเราค้นหา “อุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน” ซึ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ที่มีหัวข้อย่อยให้พูดถึงได้มากมาย เมื่อเราสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับคำค้นหานี้, Google ก็จะแสดงหน้าเว็บจากเว็บไซต์ที่มีหัวข้อย่อยของ “อุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน” เข้ามาด้วย เช่น อุปกรณ์ออกำลังกายราคาประหยัด, การทำห้องออกกำลังกายในพื้นที่ขนาดเล็ก, อุปกรณ์สำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก เป็นต้น

ในส่วนของการสร้างเนื้อหาให้สามารถติดอันดับแบบ Subtopics นั้น มีคำแนะนำดังต่อไปนี้
ใช้ “คีย์เวิร์ดรอง” สร้างหัวข้อย่อย ในแบบของ หน้าซัพพอร์ต (Support Page) หรือ บล็อกโพสต์ (Blog Post) หรือที่เกี่ยวข้องกับ “คีย์เวิร์ดหลัก” ที่ใช้เป็นหัวข้อใหญ่ใน แลนดิ้งเพจ (Landing Pages)
ตัวอย่าง การแบ่งหัวข้อย่อย เพื่อสร้างบล็อกโพสต์
Landing Page – อุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน
Support Page #1 – อุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน ผู้ชาย
Support Page #2 – อุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน ผู้หญิง
Support Page #…
Blog Post #1 – อุปกรณ์ออกกำลังกายราคาประหยัด
Blog Post #2 – การทำห้องออกกำลังกายในพื้นที่ขนาดเล็ก
Blog Post #…
เพิ่มเติม: อย่าลืมโยงลิงก์ไปยัง Landing Page ที่เกี่ยวข้อง และปรับแต่งองค์ประกอบทาง SEO อื่น ๆ
Key Moments in Videos (แสดงช่วงเวลาสำคัญของวิดีโอในผลการค้นหา)
อัปเดตแล้ว – ด้วยการใช้แนวทางใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย Google AI, ตอนนี้ Google สามารถเข้าใจความหมายเชิงลึกของวิดีโอและระบุช่วงเวลาสำคัญได้โดยอัตโนมัติแล้ว สิ่งนี้เรียกว่า Key Moments in Videos
วิธีนี้จะช่วยให้ Google สามารถแท็กช่วงเวลาสำคัญในวิดีโอได้ (แยกออกเป็นท่อน ๆ) เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูช่วงเวลาที่ต้องการในวิดีโอได้ทันทีบนหน้าผลการค้นหา (มีคีย์เวิร์ดหลักกำกับในแต่ละช่วงเวลา) เหมือนกับสารบัญหนังสือ เช่น สูตรอาหาร ไฮไลท์กีฬา ผู้ค้นหาสามารถเลือกช่วงเวลาสำคัญได้อย่างง่ายดาย
Google ได้เริ่มทดสอบการใช้งานแล้วในปีนี้และภายในสิ้นปี 2020 คาดว่า 10% ของการค้นหาวิดีโอบน Google Search จะแสดงผลในแบบของ Key Moments in Videos

ในส่วนของการสร้างเนื้อหาให้ตอบโจทย์ของ Key Moments in Videos นั้น มีคำแนะนำดังต่อไปนี้
- แบ่งเนื้อหาในแต่ละช่วงของวิดีโอออกเป็น “หัวข้อย่อย” ที่ชัดเจน
- กำกับแต่ละช่วงด้วย “คีย์เวิร์ดหลัก”
- เล่าเรื่องอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
- เปิดใช้งานและใส่ Subtitle (คำบรรยาย) บนวิดีโอ
- สร้าง Timestamps สำหรับ YouTube Video เช่น
- 0:30 หัวข้อ 1
- 2:10 หัวข้อ 2
- 5:30 หัวข้อ 3
Google AI สามารถเข้าใจคำพูดและบริบทของเนื้อหาในภาษามนุษย์ได้ ทำการประมาณผล จับคีย์เวิร์ดหลักจากเนื้อหาแต่ละช่วง เพื่อนำมาตัดแบ่งเป็นช่วงเวลาในแบบ Key Moments in Videos ให้กับวิดีโอของเรา เพื่อแสดงในหน้าผลการค้นหา
เพิ่มเติม: ใช้การปรับแต่งองค์กระกอบของ Video SEO ร่วมด้วย
การอัปเดตอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ Google Search
Spelling Algorithm (อัลกอริทึมการสะกดคำผิดในการค้นหา)
Google ได้ทำการปรับปรุงความสามารถในการทำความเข้าใจคำที่สะกดผิดอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลที่ว่าในทุกวัน คำค้นหา 1 ใน 10 มักจะถูกสะกดผิด นี่คือ Spelling Algorithm (อัลกอริทึมการสะกดคำ) แบบใหม่ ที่ใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการถอดรหัสการสะกดผิดอย่างมีนัยสำคัญ, Google กล่าวว่า การอัปเดตครั้งนี้ ทำให้การสะกดคำดีขึ้นมากกว่าการอัปเดตทั้งหมดของ Google ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

Data Sets in Search (แสดงชุดข้อมูลในผลการค้นหา)
ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา Google ได้ดำเนินโครงการ Data Commons ซึ่งเป็นฐานข้อมูลความรู้แบบเปิด “เกี่ยวกับข้อมูลทางสถิติ” เช่น มูลค่าบริษัท มูลค่าหุ้น การเงิน จำนวนประชากร และอื่น ๆ ที่เริ่มต้นโดยความร่วมมือกับ U.S. Census, Bureau of Labor Statistics, World Bank และอีกหลายบริษัท ตอนนี้ Google สามารถทำให้ข้อมูลเหล่านี้เข้าถึงได้อย่างง่ายดายและมีประโยชน์มากขึ้นแล้ว สำหรับผู้คนหาบน Google Search

ยังมีการอัปเดตอื่น ๆ อีกนะครับ แต่ผมคิดว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของ SEO จึงไม่ได้ยกมากล่าวถึง แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://blog.google/products/search/search-on/
https://twitter.com/searchliaison/status/1318609604029263872
https://www.searchenginejournal.com/google-ai-updates-to-search-results-impact-analysis/384176/
https://www.seroundtable.com/google-passage-ranking-not-passage-indexing-30287.html