Web Stories ปลั๊กอิน WordPress โดย Google สร้างเนื้อหาสั้น ๆ เพื่อเผยแพร่บน Google Search เรียนรู้การสร้างแบรนด์ (Branding) ดึงดูดผู้เยี่ยมชม (Traffic) ด้วย Web Stories
Web Stories คืออะไร ?
Web Stories เป็นปลั๊กอินที่พัฒนาโดย Google ใช้ในการสร้างเนื้อหาในแบบ Story สำหรับใช้งานบน WordPress เพื่อการแสดงผลบนแพลตฟอร์มของ Google แสดงเรื่องราวต่าง ๆ จากเว็บไซต์ของคุณสู่สายตาผู้ค้นหาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ในแบบสั้น ๆ และสวยงาม เป็นหนึ่งในการแสดงหน้าเว็บแบบ Accelerated Mobile Pages (AMP)
ปลั๊กอิน Web Stories ได้เปิดตัวให้ใช้งานเวอร์ชันเบต้าเมื่อต้นปีที่ผ่านมา หลังจากการพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ มาได้สักพัก ตอนนี้พร้อมให้ใช้งานในเวอร์ชันเต็มสำหรับทุกคนบน WordPress แล้ว
ประโยชน์ของ Web Stories ?
รูปแบบ Web Stories ทำให้คุณสามารถสร้างเนื้อหาสั้น ๆ เพื่อการเผยแพร่บนแพลตฟอร์มของ Google, ช่วยให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ค้นหา ลูกค้า ผ่านพลังของการเล่าเรื่องบนเว็บไซต์ ได้ง่ายขึ้น (คล้ายกับ Facebook Stories และ Instagram Stories)
คุณสมบัติของเว็บสตอรี่
สร้างเนื้อหาที่สวยงามและน่าสนใจได้อย่างง่ายดาย
ในขั้นตอนการผลิตเนื้อหาจะกลายเป็นเรื่องง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จากมุมมองทางเทคนิค
ความยืดหยุ่นในการสร้างสรรค์ มอบอิสระให้กับการสร้างเนื้อหาและการสร้างแบรนด์
เว็บสตอรี่มาพร้อมกับเทมเพลต เลย์เอาท์ ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแต่ยืดหยุ่น ควบคุมด้วย UI ที่เป็นมาตรฐาน มาพร้อมส่วนประกอบสำหรับการจัดการเนื้อหาเพิ่มเติมที่ใช้งานง่าย
แบ่งปันและเชื่อมโยงเนื้อหาของคุณบนเว็บแบบเปิด
เว็บสตอรี่ทำงานแบบเปิด สามารถแชร์และฝัง ลงบนไซต์และแอปพลิเคชันได้โดยไม่จำกัด ในระบบเดียว
ติดตามและวัดผลเนื้อหาได้
รองรับการติดตามสถิติบน Google Analytics และ Google Search Console เพื่อช่วยให้คุณวิเคราะห์และปรับปรุงเนื้อหาให้ดีขึ้นได้
ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ด้วยการแสดงผลอย่างรวดเร็ว
เว็บสตอรี่นั้นสามารถโหลดและแสดงผลได้อย่างรวดเร็วทันใจ เพื่อให้ผู้ชมของคุณมีส่วนร่วมและได้รับความบันเทิงมากที่สุด
มีส่วนร่วมกับผู้อ่านของคุณผ่านการเล่าเรื่องที่สมจริง
เว็บสตอรี่เป็นการนำเสนอเนื้อหาจากเว็บไซต์วิธีใหม่และทันสมัย ในการเข้าถึงผู้อ่าน
สร้างรายได้จากเรื่องราวที่สวยงามและน่าสนใจที่คุณสร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสามารถสร้างรายได้ จากผู้เผยแพร่โฆษณา โดยใช้ลิงก์พันธมิตร (Affiliate links) สำหรับผู้ลงโฆษณาบน Stories เป็นวิธีการเข้าถึงผู้ชมที่ไม่ซ้ำใครภายในประสบการณ์การเล่าเรื่องแบบใหม่
การสร้างเนื้อหาด้วยเว็บสตอรี่
Editor ของ Web Stories มีการรวบรวมเครื่องมือในการสร้างเนื้อที่มีประสิทธิภาพ ไว้ในเครื่องมือการสร้างแบบ WYSIWYG ที่ใช้งานง่าย คุณสมบัติหลักบางประการที่คุณสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างนอกกรอบ มีดังต่อไปนี้
- แดชบอร์ดที่ดูสมบูรณ์และใช้งานง่ายช่วยให้คุณสำรวจกระบวนการสร้างเรื่องราวได้ง่าย
- เทมเพลตเพจตั้งต้นที่สวยงามและดูดี เพื่อให้คุณเริ่มกระบวนการสร้างเนื้อหาได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น
- ความสามารถในการลากและวาง (drag-and-drop) ทำให้ง่ายต่อการสร้างเนื้อหาเรื่องราวที่สวยงาม
- เข้าถึง Media Library ของ WordPress ได้อย่างสะดวกช่วยให้คุณสามารถดึงภาพ วิดีโอ บนเว็บไซต์มาใช้งานได้ทันที
- การตั้งค่าสีและรูปแบบข้อความที่ปรับแต่งได้ ทำให้ง่ายต่อการปรับแต่งสไตล์ของเนื้อหาให้ตรงกับกลยุทธ์ของคุณ
การแสดงผลของ Web Stories
- Google Search
- Google Images
- Google Discover
- Google App
การทำ Branding ด้วย Web Story
Web Story จะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารแบรนด์ของคุณกับผู้ค้นหา ลูกค้า ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มของ Google โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น การนำเสนอโปรโมชัน การนำเสนอสินค้าและบริการ การสร้างความน่าเชื่อถือ และอื่น ๆ ตามกลยุทธ์ทางการตลาดของคุณ
การเพิ่ม Traffic ด้วย Web Story
Web Story จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างมากมาย เนื่องด้วยเนื้อหาในแบบ Story จะถูกแสดงบนตำแหน่งต่าง ๆ ของแพลตฟอร์ม Google แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การค้นหาแบบ Search, การค้นหาแบบ Images, ฟีเจอร์ Discover และ App ทำให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของ Google มองเห็นเนื้อหาจากเว็บไซต์ของคุณได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
เมื่อพิจารณาแล้ว นอกจากการที่เราโฟกัสการเข้าชมและการทำอันดับจากหน้า Landing Page หรือ Blog บน Search ทั่วไปแล้วนั้น การเผยแพร่ Story เพิ่มเข้ามา จะช่วยให้ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณเพิ่มมากขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย และสามารถทำได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
การทำ SEO สำหรับ Web Story
ปรับเต่งเนื้อหาบน Story ให้เหมาะสม
การสร้างหน้าเว็บสำหรับ Web Story จะถูกสร้างโดยแยกออกเป็นแต่ละ URL ต่อ 1 เนื้อหา มีหน้าย่อยภายใน ที่สามารถสร้างได้ตามจำนวนที่ต้องการ (แยกเป็นแถบ แสดงต่อเนื่องกัน)
ข้อแนะนำจากกูเกิลสำหรับเนื้อหาที่เหมาะสมดังต่อไปนี้
- เนื้อหาควรมีจำนวนหน้าย่อยภายในอยู่ที่ 4-30 หน้า
- เนื้อหาแบบวิดีโอควรมีความยาวไม่เกิน 15 วินาที และควรมีคำบรรยายสั้น ๆ, ควรถ่ายวิดีโอในโหมดแนวตั้งไม่ใช่ในโหมดแนวนอน ด้วยวิธีนี้เนื้อหาจะแสดงแบบเต็มหน้าจอบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
- ข้อความควรใช้ขนาดแบบอักษรอย่างน้อย 24
- แต่ละหน้าควรมีอักขระไม่เกิน 200 ตัว (ประมาณ 30 คำ)
- หากต้องการสร้างเนื้อหาแบบยาว แนะนำให้ใช้ลิงก์แนบไปยังหน้าเนื้อหาเต็ม, นี่เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ผู้เผยแพร่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมผ่าน Story และส่งผู้ชมไปอ่านเนื้อหาแบบเต็มได้ (หน้า Landing Page หรือ Blog) หากผู้ชมมีความสนใจ
ปรับแต่ง Title Tag, Meta Description, URL ตามหลัก SEO
ปรับแต่งให้เหมือนกับการจัดวางองค์ประกอบของ SEO สำหรับ Landing Page ทั่วไป, ในตอนนี้ URL จะถูกตั้งตาม Title Tag ของเว็บสตอรี่โดยอัตโนมัติ และแสดงย่อหน้าแรกเป็น Meta Description (ยังไม่สามารถปรับแต่งได้)
เนื่องด้วยเว็บสตอรี่ยังเป็นของใหม่ ปลั๊กอิน SEO ส่วนใหญ่ยังไม่ซัพพอร์ตในการปรับแก้ Meta Description และ URL, ปลั๊กอินยอดนิยมอย่าง Yoast และ Rank Math กำลังพัฒนาฟีเจอร์ในส่วนนี้อยู่รอติดตามกันต่อไปครับ
เพิ่ม Cover Images ที่ดึงดูดและมีขนาดที่เหมาะสม
เพิ่มภาพปกที่ดึงดูดสายตาผู้ค้นหาให้มาที่สุด หลักการเดียวกันกับ Feature Images บนหน้าเว็บหรือบทความทั่วไป แต่จะมีอัตราส่วนของภาพที่แตกต่างกัน
เพิ่ม Schema Markup ที่เกี่ยวข้อง
ใช้งาน Schema Markup ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ Google เข้าใจข้อมูลบน Story ของคุณมากยิ่งขึ้น ชนิดของ Schema ที่รองรับมีดังต่อไปนี้
- Organization
- WebSite
- ImageObject
- WebPage
- Article
- Person
เพิ่ม Web Story ใน sitemap.xml
การเพิ่มเว็บสตอรี่บนไซต์แมป จะช่วยให้เนื้อหาของคุณถูกค้นพบโดย Googlebot และทำการ Indexing ได้รวดเร็วและง่ายขึ้น
ส่งไปทำการ Indexing ด้วย Google Search Console
อย่าลืมส่งหน้าเว็บสตอรี่ของคุณไปจัดทำดันชนีทุกครั้งหลังทำการเผยแพร่ ด้วยการใช้งาน Google Search Console จะทำให้ Googlebot เข้ามาจัดทำดัชนีให้เนื้อหาของคุณได้รวดเร็วขึ้น
การติดตามผลของ Web Story
คุณสามารถติดตามผลของเว็บสตอรี่ เพื่อการทำ SEO ได้บน Google Search Console ในเมตริกพื้นฐานทั่วไปดังต่อไปนี้
- คลิก (Clicks)
- การแสดงผล (Impressions)
- อัตราการคลิกผ่าน (CTR)
- อันดับบนผลการค้น (Position)
- ประเทศที่เนื้อหาของคุณกำลังปรากฏ (Countries)
- อุปกรณ์ที่กำลังแสดง (Devices)
- และอื่น ๆ
ในส่วนของ Google Analytics จะเป็นการติดตามผลในแบบของจำนวนผู้เข้าชม เหมือนหน้าเว็บทั่วไป
แนวทางการสร้างเนื้อหาบนเว็บสตอรี่
ประเภทของเนื้อหาทั้งแบบวิดีโอและข้อความ สำหรับเว็บสตอรี่ที่แนะนำ มีดังต่อไปนี้
- Promotion (โปรโมชัน)
- News (ข่าวสาร)
- Product Introduction (แนะนำสินค้า)
- Service Introduction (แนะนำบริการ)
- How to (ฮาวทู)
- Tips (ทริป)
ตัวอย่างหาบนเว็บสตอรี่
เลือกชมตัวอย่างของเว็บสตอรี่ที่น่าสนใจได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
- 5 destinations to see wildlife with your kids
- How Do I Deal With Nighttime Anxiety?
- Would You Try This Jet Suit?
- How Stuff Is Made: Money
- How To Make Japanese Curry
เว็บรายใหญ่ ๆ ที่ใช้งานเว็บสตอรี่
เว็บสตอรี่เป็นที่นิยมอย่างมากในตอนนี้และมีผู้ใช้งานเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ด้านล่างนี้คือตัวอย่างของเว็บไซต์ใหญ่ ๆ ที่ใช้งานเว็บสตอรี่มาได้สักพักแล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติม
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: https://wp.stories.google/
ลิงก์ดาวน์โหลดปลั๊กอิน: https://wordpress.org/plugins/web-stories/
ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://wp.stories.google/
https://www.searchenginejournal.com/web-stories-wordpress-plugin-seo-tips/377814/
https://www.searchenginejournal.com/google-web-stories/373520/