Google Algorithm ที่คุณควรรู้จัก เมื่อต้องทำ SEO!
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเหล่า กูเกิล อัลกอริทึม ( Google Algorithm ) ทั้งหลาย ที่ทาง Google ใช้ในการพิจารณาการจัดอันดับผลลัพธ์ของการค้นหากันครับ ผมจะพยายามอธิบายแบบคร่าว ๆ ให้เข้าใจง่ายมากที่สุดสำหรับคนทั่วไปที่สนใจในเรื่องของการทำเอสอีโอ หรือนักทำเอสอีโอมือใหม่
1. Panda
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: 24 กุมภาพันธ์ 2011
เป้าหมาย: ตรวจสอบและจัดอันดับเว็บไซต์โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหา
Google Panda เป็น Algorithm ที่ใช้ในการกำหนดคะแนนคุณภาพเนื้อหาให้กับหน้าเว็บ ลดอันดับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ (low-quality), เนื้อหาสแปม (spammy) หรือเนื้อหาน้อย (thin content)
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- เนื้อหาที่ซ้ำกันกับเว็บไซต์อื่น
- เนื้อหาที่คัดลอกมาจากเว็บไซต์อื่น
- เนื้อหาน้อย
- เนื้อหาสแปม
- การแทรกคำหลักที่มากเกินไปในเนื้อหา
- เนื้อหาที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
2. Penguin
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: 24 เมษายน 2012
เป้าหมาย: ตรวจสอบการเชื่อมโยงลิงค์จากเว็บไซต์ภายนอก
Google Penguin มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบการเชื่อมโยงของลิงก์ย้อนกลับ (Back link) จากเว็บไซต์ภายนอกที่ไม่เป็นธรรมชาติซึ่งถือว่าเป็นการสแปม นับตั้งแต่ปลายปี 2016 เพนกวินเป็นหนึ่งในอัลกอริทึมที่ใช้ในการพิจารณาการจัดอันดับหลักของ Google และทำงานในแบบเรียลไทม์
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพ
- ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อการทำส่งเสริมเอสอีโอ โดยเฉพาะ เช่น PBN
- ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (เนื้อหาไม่เกี่ยวข้อง) และลิงก์ที่เสียค่าใช้จ่าย
- ลิงก์ที่มีจงใจใช้ Keywords ใน Anchor Text มากเกินไป
3. Pirate
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: สิงหาคม 2012
เป้าหมาย: ตรวจสอบและจัดอันดับเว็บไซต์โดยให้ความสำคัญกับลิขสิทธิ์ของเนื้อหา
Google Pirate ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของเนื้อหาบนเว็บไซต์ เช่นภาพยนตร์ เพลงหรือหนังสือ
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- เนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง
- เนื้อหาที่มีการรายงานการละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมาก
4. Hummingbird
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: 22 สิงหาคม 2013
เป้าหมาย: แสดงผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากขึ้นโดยเข้าใจถึงความหมายที่อยู่เบื้องหลังการค้นหา
Google Hummingbird คือการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนวิธีที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการตีความคำค้นหา (คำค้นหาแบบยาว ๆ , คำค้นค้นหาเชิงประโยค) และนำเสนอผลการค้นหาที่ตรงกับเจตนาของผู้ค้นหาแทนที่จะโฟกัสไปที่คำหลัก คำใดคำหนึ่ง ในประโยคนั้น ๆ เช่นคำว่า “เก้าอี้ ikea” แทนที่จะนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับ “เก้าอี้” หรือ “ikea” ก็จะแสดงข้อมูลของเก้าอี้ ที่มาจากเว็บไซต์ของ ikea แทน
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- การกำหนดเป้าหมายคำหลักที่ตรงจนเกินไป
- การมีคำหลักในเนื้อหามากเกินไป
5. Pigeon
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: 24 กรกฎาคม 2014 (สหรัฐฯ)
เป้าหมาย: ให้ผลลัพธ์การค้นหาของโดยคำนึงถึงเว็บไซต์ในท้องถิ่นที่มีคุณภาพและมีความเกี่ยวข้องสูง
Google Pigeon แสดงผลการค้นหาในท้องถิ่น ยึดตำแหน่งที่อยู่ของผู้ค้นหาเป็นหลัก เช่น เมื่อคุณค้นหา “ซ่อมแอร์” มันก็จะแสดงผลการค้นหาเว็บไซต์ของธุรกิจที่ให้บริการซ่อมแอร์ ในระแวกนั้น ๆ ขึ้นมาก่อน
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- หน้าเว็บที่ไม่เหมาะสม
- การตั้งค่าหน้า Google Business Profile ที่ไม่ถูกต้อง
- ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ของธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกัน
- ขาดการอ้างอิงในไดเร็กทอรีท้องถิ่น
6. Mobile Friendly Update
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: 21 เมษายน 2015
เป้าหมาย: ตรวจสอบหน้าเว็บให้มีเหมาะสมกับการใช้งานบนอุกรณ์เคลื่อนที่
Google Mobile Friendly Update (Mobilegeddon) ใช้ตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่ามีหน้าเว็บที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (เช่น สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต) ยิ่งเว็บไซต์ของคุณมีรูปแบบที่เหมาะสมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่มากเท่าใด อันดับของคุณก็จะถูกจัดให้อยู่ด้านบนสุดของการค้นหาบนมือถือ (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ โดยอัลกอริทึมที่เกียวข้องด้วย) และอันดับจะต่ำลงเรื่อย ๆ หากไม่เหมาะสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (การค้นหาบนเดสก์ท็อปไม่ได้รับผลกระทบจากการอัพเดท เนื่องจากถูกแยกออกจากกัน)
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- ไม่มีเว็บไซต์เวอร์ชันสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
- การกำหนดค่าวิวพอร์ตไม่เหมาะสม
- เนื้อหาไม่ถูกต้อง
- การใช้ปลั๊กอิน ที่ทำให้เว็บไซต์ตอบสนองได้ช้าลง
7. RankBrain
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: 26 ตุลาคม 2015
เป้าหมาย: มอบผลการค้นหาที่ดีขึ้นให้กับผู้คนหาตามความเกี่ยวข้อง โดยใช้ระบบ Machine Learning
RankBrain เป็นระบบ Machine Learning ซึ่งจะช่วยให้ Google สามารถถอดรหัสความหมายที่อยู่เบื้องหลังการสืบค้นข้อมูลและแสดงผลการค้นหาที่ตรงกับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเพื่อตอบสนองต่อข้อความค้นหาให้แก่ผู้ใช้งาน
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- การสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ใช้งานเว็บไซต์
8. Possum
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: 1 กันยายน 2016
เป้าหมาย: ให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและมีความหลากหลายขึ้น โดยพิจารณาจากตำแหน่งของผู้ค้นหาและที่ตั้งของธุรกิจ
Possum เป็นชื่อของ Algorithm สำหรับกรองผลการจัดอันดับในท้องถิ่นของ Google ล่าสุด มันจะส่งกลับผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งทางกายภาพของผู้ค้นหา (ยิ่งคุณอยู่ใกล้กับที่ตั้งของธุรกิจนั้น ๆ มากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีแนวโน้มที่คุณจะได้เห็นผลการค้นหาในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- การแชร์ที่อยู่จริงกับธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน
- คู่แข่งที่มีที่อยู่ธุรกิจใกล้กับตำแหน่งของผู้ค้นหา
9. Fred
(ภาพจาก : https://goo.gl/u1v8gz)
เปิดตัว: 8 มีนาคม 2017
เป้าหมาย: กรองผลการค้นหาที่มีคุณภาพต่ำซึ่งมีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือการสร้างรายได้จากโฆษณาและ Affiliate
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- เนื้อหาที่มีมูลค่าต่ำ เนื้อหาที่เป็นโฆษณา
- เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ Affiliate
(ภาพจาก : https://goo.gl/X9aJhB)