Voice Search (ค้นหาด้วยเสียง) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

แชร์บทความนี้!

ค้นหาด้วยเสียง หรือ Voice Search ผู้ใช้งาน Google Search ในไทยส่วนใหญ่คงยังไม่คุ้นเคย กับการใช้งานฟังก์ชันนี้ และคงเคยชินกับการใช้การค้นหาแบบคำ (Keyword) โดยทั่วไปเท่านั้น แต่ในต่างประเทศ เริ่มเป็นที่นิยมอย่างมากเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ มาดูกันว่ามันมีความสำคัญอย่างไรต่อวงการ SEO แลผู้ใช้งานทั่วไป

Voice Search (ค้นหาด้วยเสียง) คืออะไร

ค้นหาด้วยเสียง หรือ Voice Search คือการใช้คำสั่งเสียงในการค้นหาข้อมูลบน Search Engine เช่น Google Voice search

นี่อาจเป็นสัญญาณบางอย่าง ที่ทำให้นักทำ SEO (Search Engine Optimization) อย่างพวกเรา ต้องเริ่มปรับตัว

Google ได้สร้างดัชนีใหม่ สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ (Mobile, Tablet) ซึ่งแยกจากกัน กับผลการค้นหาบนเดสก์ท็อป (Desktop index) ในช่วงปีที่ผ่านมา เราโฟกัสการทำอันดับทั้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อป แต่จากนี้เป็นต้นไป สิ่งที่เราอาจจะต้องทำและคำนึงถึง คือ “การเพิ่มประสิทธิภาพ การค้นหาด้วยเสียง”

Google Assistant

ผู้ช่วยเสมือน และ การค้นหาด้วยเสียง

ผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลกทั้งหมด ไม่ใช่แค่ Google ที่กำลังลงทุนกับผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) และ Voice Search , Google มี Google Assistant, Apple มี Siri, Amazon มี Alexa, Microsoft มี Cortana, Samsung มี Bixby และ Yandex เพิ่งเปิดตัว Alice ผู้ช่วยเสมือน ที่ทำงานด้วย AI รายแรก ในตลาดรัสเซีย

Amazon Echo และ Google Home เป็นลำโพงอัฉริยะ ที่เชื่อมต่อเข้ากับผู้ช่วยเสมือน ที่ยินดีให้คุณออกคำสั่งผ่านเสียงพูด เพื่อให้พวกเขาเล่นเพลง อ่านหนังสือ สร้างตารางเวลา และตั้งนาฬิกาปลุก สำหรับคุณ, นอกจากนี้ คุณยังสามารถ เชื่อมต่อพวกเขา เข้ากับระบบควบคุม อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) ภายในบ้านได้อีกด้วย เช่น ระบบเปิดปิดไฟ เพิ่มลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

แม้ว่าจะมีผู้ช่วยเสมือนถูกพัฒนามาให้เราได้ใช้งาน 2-3 ปีมาแล้ว แต่ยุคของปรากฏการณ์นี้ยังอยู่ในช่วงแรก และพวกเขาก็พร้อมที่จะพัฒนาความก้าวหน้าใหม่ ๆ ออกมาในอนาคต ในปี 2015 จากรายงานของ MindMeld แสดงให้เห็นว่า วอยซ์ เสิร์ช ถูกใช้งานเพิ่มขึ้นจากศูนย์เป็น 50 พันล้านรายการต่อเดือน, บริษัท SEO HigherVisibility ได้ทำการสำรวจผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 2,000 ราย และพบว่า 27% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้งานผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) มีการค้นหาแบบรายวัน ในขณะที่อีก 27% พวกเขาใช้มันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะมองข้าม

Talk with Google Assistant

(ภาพจาก: Google Assistant)

เมื่อพูดถึง SEO เราควรเข้าใจว่า ทุกอย่างที่ผู้ช่วยเสมือนสามารถทำได้ กับการค้นหาด้วยคำสั่งเสียงนั้น สามารถมีมูลค่าทาง SEO ได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าปัจจุบัน ผู้คนยังคงยึดติดกับการค้นหาแบบคำ (Keyword) เป็นหลัก แต่เราจะเห็นได้ชัดว่า นี่จะเป็นตลาดใหม่สำหรับการทำ SEO ในอนาคต ขณะที่เรากำลังแข่งขัน เพื่อให้กลายเป็นผู้ให้บริการที่ดีที่สุด และเป็นที่แน่ชัดว่า การแข่งขันจะยากขึ้น

ขณะนี้ การค้นหาแบบดังกล่าว เกิดขึ้นบนโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก เนื่องจากข้อความเสียงส่วนใหญ่ ถูกส่งมาจากสมาร์ทโฟน ในขณะที่พวกเขาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

Voice Search Stats

(ภาพจาก: HigherVisibility)

เพิ่มเติม:

หลังจากที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น Google จึงเปลี่ยนไปใช้การสร้างดัชนีมือถือเป็นครั้งแรก ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วในช่วงต้นปี 2020 นี้ การจัดทำดัชนีบนมือถือ จึงมาก่อนเดสก์ท็อป (ข่าวการอัปเดต)

ในสถานการณ์เช่นนี้ วอยซ์ เสิร์ช กำลังประสบกับการเติบโตแบบก้าวกระโดด ไม่ยากที่จะดูว่าทำไม วอยซ์ เสิร์ช สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เราสามารถพูดได้ 150 คำต่อนาที ในภาษาอังกฤษ แทนที่แทนที่จะใช้การพิมพ์คำ 40 คำต่อนาที มันสะดวกและเชื่อถือได้ การจดจำเสียงจะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เพียงแค่คุณลองดูตัวเลขเหล่านี้:

“Google รายงานว่า วอยซ์ เสิร์ช ในปี 2016 เพิ่มขึ้น 35 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา” อ้างอิงจาก Google Trends ผ่าน Search Engine Watch

“Google อ้างว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของข้อความค้นหา จะเป็น วอยซ์ เสิร์ช ภายในปี 2020”

Voice Search Optimization

อ่านคำแนะนำสำหรับวิธีการปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับการค้นหาด้วยเสียงได้ที่ Google Content Actions

สรุป

วอยซ์ เสิร์ช นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก พูดได้เลยว่าในปี 2020 นี้ ปริมาณการใช้งาน วอยซ์ เสิร์ช นั้น ต้องเพิ่มขึ้นอย่างมากแน่นอน ด้วยซอร์ฟแวร์และแก็ดเจ็ต ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานสำหรับคนทั่วไป ซึ่งถูกพัฒนาออกมาให้ได้ใช้งานกันอย่างมากมาย จากผู้นำด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ อย่าง Google, Apple, Amazon และ Microsoft ในฝั่งบ้านเราก็คงจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ในไม่ช้า เช่นเดียวกับต่างประเทศ

แชร์บทความนี้!

0 0 โหวต
ให้คะแนนบทความ
การติดตาม
แจ้งเตือน
guest

0 ความคิดเห็น
การตอบกลับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด