วิธีทำ Landing Page SEO ขั้นพื้นฐาน ในส่วนของ On-site

แชร์บทความนี้!

วันนี้เราจะมาพูดถึงการทำ Landing Page SEO ในส่วนของ On-site ด้วยการปรับแต่งองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญให้เหมาะกับการทำอันดับที่ดีขึ้นบนหน้าผลการค้นหากันครับ โดยจะเกริ่นนำด้วยการอธิบายถึง Landing Page ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ว่าคือหน้าใดบนเว็บไซต์ของเรา จากนั้นจะนำเข้าสู่การเรียนรู้องค์ประกอบพื้นฐานของหน้า และการทำ แลนดิ้งเพจ เอสอีโอ

Landing Page คืออะไร

หลายคนอาจจะสงสัยว่า Landing Page (แลนดิ้งเพจ) หมายถึงหน้าไหนในเว็บไซต์ของเรา ผมจะพูดให้เข้าใจกันง่าย ๆ ก็แล้วกันนะครับ Landing Page คือ หน้าเว็บที่สร้างขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อการทำอันดับในแต่ละคีย์เวิร์ดหลัก ที่เราต้องการให้เว็บไซต์มีอันดับบนผลการค้นหาของ Google รวมทั้งเป็นหน้าที่ใช้อธิบาย สินค้าหรือบริการหลักของธุรกิจเรา

ตัวอย่าง: เว็บไซต์ขายเฟอร์นิเจอร์

การแบ่งแลนดิ้งเพจ

ตัวอย่าง:

URL ภาษาไทย

  • https://example.com/เฟอร์นิเจอร์ภายใน/
  • https://example.com/เฟอร์นิเจอร์ภายนอก/

URL ภาษาอังกฤษ

  • https://example.com/indoor-furniture/
  • https://example.com/outdoor-furniture/

องค์ประกอบพื้นฐาน Landing Page

การปรับแต่ง Landing Pages เพื่อ SEO

(ภาพประกอบจาก : link-assistant.com)

ในหัวข้อถัดไปจะกล่าวถึงวิธีการทำ แลนดิ้งเพจ เอสอีโอ ในขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนสามารถลองทำกันได้ครับ

การปรับแต่ง Landing Page SEO

รูปแบบ URL ที่เหมาะสม (Keywords in URL)

(หมายเลข 1)

การจัดรูปแบบ URL ให้ถูกต้องและเหมาะสม เป็นจุดสำคัญจุดแรกของการทำ Landing Page SEO

ตอนที่ Google Bot เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ของเราเพื่อรวบรวมข้อมูลในการจัดทำดีชนี Bot จะอ่านข้อมูลจากส่วนบนสุดของหน้าเว็บลงมาล่างสุด บนสุดก็คือส่วนของ URL นั่นเอง

URL ควรมีคีย์เวิร์ดที่ต้องการทำอันดับอยู่ด้วย ซึ่งคีย์เวิร์ดควรอยู่ใน Slug ลำดับที่ 1-2 ต่อจากชื่อโดเมน (ลำดับที่ 1 จะส่งผลดีที่สุด) นี่คือตัวอย่างของ Slug ที่เหมาะสมตามประสบการณ์ของผม

ตัวอย่าง – สำหรับเว็บบริษัททั่วไป (Company Website) หรือเว็บที่มีบริการไม่ซับซ้อน

URL ภาษาไทย

  • https://example.com/รับทำเว็บไซต์/
  • https://example.com/บริการ/รับทำเว็บไซต์/

URL ภาษาอังกฤษ

  • https://example.com/website-design-services/
  • https://example.com/services/website-design/

ตัวอย่าง – สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ช (Ecommerce Website) ที่มีสินค้าหรือบริการย่อยจำนวนมาก

URL ภาษาไทย

  • https://example.com/ไอโฟน-8-plus/
  • https://example.com/สมาร์ทโฟน/ไอโฟน-8-plus/

URL ภาษาอังกฤษ

  • https://example.com/iphone-8-plus/
  • https://example.com/smartphones/iphone-8-plus/

ชื่อเรื่องที่มีคีย์เวิร์ดหลัก (Keywords in Title)

(หมายเลข 2)

จุดสำคัญลำดับที่ 2 ของการทำ Landing Page SEO

ชื่อเรื่อง (Tittle) ควรมีคีย์เวิร์ดที่ต้องการทำอันดับอยู่ด้วย

ตัวอย่าง – วางคีย์เวิร์ดไว้ตั้งแต่ต้นจะส่งผลดีที่สุด รองลงมาคือตรงกลางหัวเรื่อง และท้ายหัวเรื่อง

Furniture SEO Guideline

คำอธิบายที่มีคีย์เวิร์ดหลัก (Keywords in Description)

(หมายเลข 3)

คำอธิบายหน้าเว็บเป็นจุดสำคัญลำดับที่ 3 ของการทำ แลนดิ้งเพจ เอสอีโอ

คำอธิบาย (Description) ควรมีคีย์เวิร์ดที่ต้องการทำอันดับอยู่ด้วย

ริช สนิปเปต (Rich Snippets)

(หมายเลข 3)

เลือกใช้ Rich Snippets ให้เหมาะสมกับชนิดหน้าเว็บไซต์ เสริมพลังให้กับ แลนดิ้งเพจ เอสอีโอ

การเพิ่ม Structured Data บนหน้าเว็บ ทำให้เกิดการแสดงผลแบบ Rich Snippets บนหน้าผลการค้นหา ช่วยให้ Bot เข้าใจหน้าเว็บของเรามากขึ้นว่าเกี่ยวกับอะไร เช่น ขายสินค้า หรือให้บริการประเภทใด เปิด-ปิด วันและเวลาใด รวมถึงข้อมูลการติดต่อเบื้องต้น หรือจะใช้สำหรับแสดงคะแนนรีวิวสินค้าของเราก็ได้

Google Search Snippet

(ภาพประกอบจาก : link-assistant.com)

ดูวิธีการใช้งานและตัวอย่างโค้ดที่ใช้ในการปรับแต่งสำหรับเว็บไซต์แต่ละประเภทได้ที่เว็บไซต์หลัก : http://schema.org/

สำหรับคนที่ใช้ WordPress มีปลั๊กอินให้ใช้งานเลือกตามความสะดวกได้เลยครับ

ชุดลิงก์นำทาง (Breadcrumbs)

(หมายเลข 4)

ชุดลิงก์นำทาง มีประโยชน์ทั้งต่อผู้ใช้งานที่ช่วยบอกว่าคุณกำลังอยู่ในส่วนใดของเว็บไซต์ และยังช่วยให้ Bot ของ Google ไต่ไปเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น

เว็บไซต์บุญถาวร

(ภาพประกอบจาก : boonthavorn.com)

การค้นหาภายในเว็บไซต์ (Internal Search)

(หมายเลข 3)

เครื่องมือการค้นหาภายใน ช่วยลดอัตตราการตีกลับ (Bounce Rates) หรือลดอัตราการออกจากเว็บของผู้ใช้ และเก็บบันทึกข้อมูลการค้นหา

คุณสามารถใช้ร่วมกับ Google Analytics ได้ด้วยการติดตั้งโค้ดติดตามพฤติกรรมผู้ใช้ในส่วนของ เครื่องมือค้นหาภายใน ทำให้สามารถดูข้อความค้นหาที่ผู้ใช้ป้อนลงในแถบการค้นหาของคุณได้อย่างง่ายดาย ทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมการค้นหาของผู้ใช้ รูปแบบคีย์เวิร์ดที่พวกเขาใช้ ความสนใจสินค้าและบริการอื่น ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์สำหรับเว็บไซต์ของเรา

บุญถาวร

(ภาพประกอบจาก : boonthavorn.com)

การปรับแต่งหัวข้อให้เหมาะสม (Header Optimization)

(หมายเลข 6)

หัวข้อในเนื้อหา เป็นอีกส่วนสำคัญ ที่ควรมีคีย์เวิร์ดอยู่ด้วย

สำหรับผมจะเน้นการมี Keywords (คีย์เวิร์ด) ใน H1 และ H2 เป็นหลัก โดยเราสามารถมี H1 หรือ H2 จำนวนเท่าไรก็ได้ (ตามความเหมาะสมและความยาวของเนื้อหา) โดยการกระจายคีย์เวิร์ดในชุดที่ผมโฟกัสแต่ละหน้าลงไป (เฟอร์นิเจอร์ภายใน, ชนิดของเฟอร์นิเจอร์ภายใน, การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ภายใน, วิธีทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ภายใน)

ตัวอย่าง:

Guide SEO Title Tag

มุมมองแบบ HTML:

Title Tag Guide SEO

คีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดรอง ในเนื้อหา (Keywords in Content)

(หมายเลข 7)

คีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดรอง ที่ต้องการทำอันดับควรมีอยู่ในเนื้อหา

นอกจากใน URL, Title, H1-H2 แล้วผมจะทำการกระจายคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องในชุดคีย์เวิร์ดเดียวกัน สำหรับแต่ละหน้าลงไปด้วย ในแบบที่เป็นธรรมชาติที่สุด

ตัวอย่าง: บทความเกี่ยวกับ “การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์” จากเว็บไซต์ Sanook.com

Furniture Keywords

จะสังเกตได้ว่ามีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับ “เฟอร์นิเจอร์” กระจายอยู่ทั่วบทความ

ความยาวของเนื้อหา (Content-Length)

(หมายเลข 8)

ความยาวของเนื้อหา ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ ดีต่อคนและดีต่อ Bot 

บทความยิ่งยาวยิ่งดีครับ ยาวแล้วต้องน่าอ่านเป็นมิตรกับผู้อ่านด้วย ยิ่งบทความเรายาวกว่าคู่แข่งเท่าไรเราก็ยิ่งได้เปรียบในการจัดอันดับมากเท่านั้น Bot ของ Google จะให้ความสำคัญกับหน้า Landing Page ที่มีจำนวนเนื้อหามาก กว่าหน้าที่มีเนื้อหาน้อยและไร้ประโยชน์ต่อผู้อ่าน (ตัวอย่างการเขียนบทความภาษาไทยให้มีคุณภาพ โดย Content Shifu)

นับจำนวนคำของเนื้อหาหรือบทความได้ที่นี่สำหรับเว็บไทย

เนื้อหาที่ทรงพลังที่สุดจะอยู่ที่ 2000 คำขึ้นไป ตามสถิติของ SerpIQ

SerpIQ

อันที่จริงแล้ว ประมาณ 500-1500 คำ สำหรับเว็บไทยก็เป็นอันใช้ได้แล้วครับ

มัลติมีเดีย (Multimedia)

(หมายเลข 9)

รูปภาพ วิดีโอ ช่วยมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ และยังช่วยให้องค์ประกอบใน Landing Page สมบูรณ์ขึ้นอีกด้วย

การปรับแต่ง Alt tags และ Title tags บนรูปภาพ (Image Optimization) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ แลนดิ้งเพจ เอสอีโอ, เป็นการอธิบายว่าภาพนั้น ๆ ที่คุณใช้ในบทความ เป็นภาพเกี่ยวกับอะไร มีความเกี่ยวข้องกับบทความหรือไม่ หากคุณโชคดีภาพของคุณอาจจะติดอันดับ การค้นหาสำหรับรูปภาพ บน Google ด้วยก็ได้

ตัวอย่าง: รูปภาพบน WordPress นอกจาก Alt tags และ Title tags แล้วเรายังสามารถเขียนอธิบายภาพเพิ่มเติมได้ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร

Furniture SEO

เนื้อหาครึ่งหน้าบนที่ดึงดูด (Above-The-Fold Content)

(หมายเลข 10)

เนื้อหาครึ่งหน้าบน เป็นจุดสำคัญ ที่ดึงดูด Bot และผู้อ่านให้อยู่ต่อ

ในทำนองเดียวกันกับการออกแบบโฆษณา เป้าหมายคือการทำให้เนื้อหาสะดุดตาและน่าสนใจมากพอที่ผู้เยี่ยมชมจะดูต่อ

เนื้อหาในครึ่งหน้าบนเป็นส่วนที่เราควรวาง Keywords (คีย์เวิร์ด) ที่เกี่ยวข้องไว้ (อย่างที่บอกว่า Bot อ่านจากด้านบนเว็บไซต์ลงมาด้านล่าง) และเขียนเนื้อหาที่น่าสนใจชวนให้ผู้ชมอ่านเนื้อหาของเราต่อ

รูปแบบที่เหมาะสม:

Page Layout SEO

(ภาพประกอบจาก : link-assistant.com)

ลิงก์ขาออก (External Links)

(หมายเลข 11)

Landing Page ควรมีลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บไซต์ภายนอกด้วย 

เป็นสิ่งที่ดีที่เราจะเชื่อมโยงลิงก์ไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ของเรา (ปกติผมเชื่อมไปหน้าอื่น ๆ 2-3 ลิงก์)

เช่น ในหน้าที่พูดถึง เฟอร์นิเจอร์ภายใน -> โซฟา, เฟอร์นิเจอร์ภายใน -> เก้าอี้ เป็นต้น ช่วยให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ของเราสามารถหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น รวมถึงสร้างทางเดินให้กับ Bot ไปเก็บข้อมูลในหน้าที่เกี่ยวข้อง

และจะทำการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก 1 ลิงก์ (ไม่เกินนี้ดีที่สุด) เช่น เว็บไซต์ที่มีหน้าเกี่ยวข้องกับ วัสดุที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น เพื่อสร้างความสมดุลของลิงก์ภายในและภายนอก (มีลิงก์เข้าต้องมีลิงก์ออก)

การทำลิงก์ขาออก จะแสดงให้ Google ทราบว่าหน้าเว็บของคุณเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่มีคุณภาพ Google ไม่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าการทำแบบนี้จะช่วยเพิ่มการจัดอันดับ แต่ด้วยประสบการณ์ของผู้ทำ SEO หลายคนเชื่อว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ดี

ปุ่มแชร์สำหรับโซเชียลมีเดีย (Social Share Buttons)

(หมายเลข 12)

ปุ่มแชร์ไปยังโซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่ได้มีบทบาทโดยตรงในการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ แต่ช่วยให้เนื้อหาของคุณผ่านตาผู้คนมากยิ่งขึ้น 

ยิ่งคุณมีผู้เข้าชมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจะช่วยให้มีการเชื่อมโยงกลับมามากเท่านั้น ดังนั้นอย่าลังเลที่จะวางปุ่มแชร์ไปยังโซเชียลเน็ตเวิร์คไว้อย่างชัดเจนในเว็บไซต์แต่ละหน้าของคุณ จากผลการศึกษาของ BrightEdge (ผู้ให้บริการ SEO Platform) พบว่าปุ่มแชร์ที่โดดเด่นสามารถเพิ่มการแชร์เนื้อหาได้ถึง 700%

การแสดงผลที่เป็นมิตรกับมือถือ (Mobile Friendly)

(หมายเลข 13)

การแสดงผลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ยอดเยี่ยม จำเป็นอย่างมากกับการทำอันดับในหน้าแรกของผลการค้นหาผ่านมือถือในปัจจุบัน

ด้วยการค้นหามากกว่าครึ่งหนึ่งของ Google มาจากอุปกรณ์เคลื่อนที่, ปัจจุบัน Google มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงผลการค้นหาบนมือถือ (แยกอันดับผลการค้นหาออกจาก Desktop) เว็บไซต์ที่ดีต้องมีการแสดงผลที่เป็นมิตรกับอุปกรณ์เคลื่อน และกลายเป็นสิ่งที่ทุกเว็บไซต์ต้องปฏิบัติ หากหน้าเว็บของคุณไม่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับการแสดงผลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ อันดับผลการค้นหาบนมือถือของคุณอาจหายไป

ความเร็วหน้าเว็บ (Page Speed)

(หมายเลข 14)

เว็บโหลดไว มีชัยไปกว่าครึ่ง 

ความเร็วของหน้าเว็บ หมายถึงระยะเวลาที่หน้าเว็บต้องโหลดข้อมูลมาแสดงผลให้เราดูอย่างสมบูรณ์ ความเร็วของหน้าเว็บขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่โฮสต์ไปจนถึงการออกแบบโครงสร้างของโค้ดบนเว็บไซต์ การใช้งานสคริปต์ (Script) ต่าง ๆ ขนาดของรูปภาพ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราต้องปรับปรุงด้วยการลดขนาดของพวกมันเพื่อให้หน้าเว็บสามารถโหลดได้เร็วขึ้น

ความเร็วของหน้ามีความสำคัญกับ Google

Google ยืนยันอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาใช้ความเร็วหน้าเว็บในการจัดอันดับผลการค้นหาด้วยอัลกอริทึม และยิ่งไปกว่านั้นความเร็วหน้าเว็บยังสามารถส่งผลต่อ SEO ของคุณได้โดยทางอ้อม Bot จะรวบรวมข้อมูลได้น้อยลงหากเว็บไซต์ของคุณช้า เนื่องจากงบประมาณในการรวบรวมข้อมูลที่จัดสรรไว้ไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ของคุณ

ความเร็วของหน้ามีความสำคัญกับผู้เข้าชม

แม้ว่าความเร็วของหน้าจะมีความสำคัญต่อ Google และสำหรับการจัดอันดับ แต่ก็ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ด้วย ประสบการณ์การใช้งานที่ดีของผู้ใช้มักนำไปสู่การปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้น หน้าเว็บที่ช้ามีแนวโน้มที่จะมีอัตราตีกลับ (Bounce Rates) สูงขึ้นและลดเวลาเฉลี่ยของการอยู่ในหน้าเว็บ

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหากเว็บไซต์ของคุณโหลดช้าไปแม้เพียง 1 วินาที อาจจะทำให้เว็บไซต์คุณสูญเสียการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ถึง 7% ทดสอบความเร็วหน้าเว็บได้ที่นี่


นี่เป็นเพียงเทคนิคการปรับแต่งขั้นพื้นฐานของ Landing Page SEO เท่านั้นครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับ แลนดิ้งเพจ เอสอีโอ ไม่มากก็น้อยนะครับ

แชร์บทความนี้!

5 2 โหวต
ให้คะแนนบทความ
การติดตาม
แจ้งเตือน
guest

0 ความคิดเห็น
การตอบกลับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด