SEO Audit Checklist คือ รายการตรวจสอบปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของ On-Page ในการหาจุดบกพร่องที่สามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อการทำอันดับที่ดีขึ้น ปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากในการเริ่มต้นทำ SEO มีบางส่วนที่หลายคนอาจมองข้ามไปหรืออาจไม่ได้มีการตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนเริ่มการแก้ไขปรับปรุง นี่คือสิ่งที่คุณควรตรวจสอบเป็นอันดับแรกเมื่อเริ่มทำเอสอีโอ
Title Tags
Title Tags (แท็กชื่อ) ของคุณจะช่วยบอก Google และผู้ค้นหา ว่าหน้าเว็บของคุณเกี่ยวกับอะไร และเป็นหนึ่งในปัจจัย SEO ที่สำคัญที่สุด, นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- แท็กชื่อไม่ซ้ำกันกับหน้าอื่น ๆ
- แท็กชื่อมี Primary Keywords (คีย์เวิร์ดหลัก) ที่ได้รับการวิจัยมาอย่างดี
- แท็กชื่อเขียนออกมาได้อย่างดี (เช่น ไม่มีการสแปมหรือทำให้เกิด Over-optmised)
- แท็กชื่อมีความยาวที่เหมาะสม (50-60 ตัวอักษร)
Meta Descriptions
Meta Descriptions (คำอธิบายเมตา) คือ ข้อความที่ปรากฏใต้ Title Tags ของคุณในผลการค้นหาของ Google, ช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้ทั้ง Google และผู้ค้นหา ว่าหน้าเว็บของคุณเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้คำอธิบายที่มีการเขียนมาอย่างดียังสามารถช่วยเพิ่ม CTR ของคุณได้, นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- คำอธิบายเมตาไม่ซ้ำกันกับหน้าอื่น ๆ
- คำอธิบายเมตามีข้อความที่เกี่ยวข้องกับหน้าเว็บและน่าสนใจ
- คำอธิบายเมตามีความยาวที่เหมาะสม (155-160 ตัวอักษร)
Header Tags (h1, h2, h3, …)
Header Tags (แท็กหัวข้อ) หรือ หัวข้อของเนื้อหาภายในหน้าเว็บ สิ่งสำคัญคือการมี Relevant Keywords (คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง) อยู่ในหัวข้อแต่ละหัวข้อ, นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- ในหน้าเว็บมีการใช้แท็กหัวข้อ
- แท็กหัวข้อมีการเรียงลำดับอย่างถูกต้อง (h1, h2, h3, …)
- แท็กหัวข้อมีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม (เช่น ไม่มีการสแปมหรือทำให้เกิด Over-optmised)
Content Writing
การเขียนเนื้อหา สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าเนื้อหาในหน้าเว็บของคุณสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ค้นหาได้ มีเนื้อหาที่เพียงพอและมีการแทรกคีย์เวิร์ดอย่างเหมาะสม การเขียนเพื่อ User เป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่าเขียนเพื่อ Search Engine, นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- มีการแทรกคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องไว้ในเนื้อหาอย่างเหมาะสม (1-2.5%)
- เนื้อหามีจำนวนเพียงพอเพื่อการจัดอันดับบน Google (อย่างน้อย 300-500 คำ)
- เนื้อหาสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ค้นหาได้
- เนื้อหามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (โปรดหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่ซ้ำกันทั้งในหน้าเว็บของคุณเอง และหน้าเว็บอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต)
URL Structure
ใช้ URL ที่สั้นและสื่อความหมายได้ แทรกคีย์เวิร์ดหลักไว้ใน URL แนะนำให้ใช้ URL เป็นภาษาอังกฤษ และหลีกเลี่ยงการใช้คำเชื่อมหรือพารามิเตอร์จำนวนมากใน URL, นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- URL สั้นและเรียบง่าย
- URL มีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง
Structured Data
Structured Data (ข้อมูลที่มีโครงสร้าง) ใช้เพื่อช่วยให้ Search Engine สามารถเข้าใจและจดจำเนื้อหาเว็บไซต์ได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น หากคุณกำหนดเป้าหมายในการทำเอสอีโอแบบท้องถิ่น ข้อมูลที่มีโครงสร้าง ที่สำคัญที่สุดคือ LocalBusiness ซึ่งภายในจะประกอบไปด้วยชุดข้อมูล หมวดหมู่ธุรกิจ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอื่น ๆ ที่จำเป็น
นี่คือเครื่องมือในตรวจสอบข้อมูลที่มีโครงสร้างบนหน้าเว็บ: Schema Markup Validator
อ่านเพิ่มเติม: Structured Data คืออะไร ?
Canonicalisation
Canonicalisation สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าแต่ละหน้าเว็บของคุณโหลดด้วยรูปแบบ URL เดียวเท่านั้น เช่น https://www.example.com หรือ https://example.com เนื่องจาก Google มีการแยกเว็บไซต์ออกตามรูปแบบของ URL ที่แตกต่างกัน คุณควรมุ่งเน้นไปที่ URL รูปแบบเดียวต่อ 1 เว็บไซต์ และสร้าง Domain Authority (ความน่าเชื่อถือของโดเมน) ให้กับรูปแบบ URL นั้น ๆ ที่คุณเลือกมากที่สุด, นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- เว็บไซต์โหลดได้ทั้งเวอร์ชัน “www” และ “none-www”
- มีการตั้งค่า Redirection ให้อีกเวอร์ชันหนึ่งสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังอีกเวอร์ชันหนึ่ง (เวอร์ชันหลักที่คุณเลือกใช้) ได้โดยอัตโนมัติ
- Home Page (หน้าแรก) ของเว็บไซต์โหลดที่ตำแหน่ง URL เพียง 1 ตำแหน่ง เท่านั้น (โปรดหลีกเลี่ยงการใช้หน้าแรกเป็น Subfolder หรือ Subpage เช่น https://www.example.com/index.html)
- หากเป็นเว็บไซต์ E-commerce มีการใช้งานแท็ก rel=”canonical” เพื่อจัดการหน้าเว็บที่มีเนื้อหาซ้ำกัน และแจ้งให้ Google ทราบว่าหน้านั้น ๆ อ้างอิงข้อมูลมาจากหน้าหลักใด
Website Structure
Website Structure (โครงสร้างเว็บไซต์) ในที่นี้หมายถึง การมีหน้าเว็บสำหรับ คีย์เวิร์ดหรือกลุ่มคีย์เวิร์ด ที่คุณต้องการจัดอันดับบน Google คุณจำเป็นต้องมีหน้าเว็บที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ คีย์เวิร์ดแต่ละคำ หรือกลุ่มคีย์เวิร์ดแต่ละรายการ นั่นจะช่วยให้มีการจัดอันดับที่ง่ายขึ้นบน Google, นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- มีหน้าเว็บสำหรับแต่ละบริการหรือผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการจัดอันดับบน Google
- มี Internal Links (ลิงก์ภายใน) ที่เชื่อมโยงไปยัง Landing Page ที่สำคัญ อย่างเหมาะสม
Internal Linking
Internal Links (ลิงก์ภายใน) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในการที่จะช่วยให้ Google ทราบว่าคุณให้ความสำคัญกับหน้าใดบ้าง เพื่อการเข้าเก็บข้อมูลที่รวดเร็วและการให้คะแนนทาง SEO อย่างเหมาะสม, นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- มีลิงก์ภายในที่เชื่อมโยงไปยัง Landing Page ที่สำคัญ อย่างเหมาะสม (เช่น ในตำแหน่ง เมนูส่วนบน, เมนูส่วนล่าง)
- มีลิงก์ภายในที่เชื่อมโยงไปยัง Landing Page ที่สำคัญ อย่างเพียงพอ (รองจากหน้าแรก, Landing Pages ควรมีลิงก์ภายในเชื่อมโยงไปถึงมากที่สุด ทั้งจาก เมนู/หน้าซัพพอร์ต/บล็อก)
Broken Pages & Links
ในที่นี้หมายถึง หน้าเว็บที่ไม่ได้ใช้งาน, หน้าเว็บที่ถูกเปลี่ยน URL, หรือหน้าเว็บที่ถูกลบไปแล้ว ไม่ควรมีลิงก์ภายในเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเหล่านี้ ซึ่งส่งผลเสียต่อประสบการณ์ใช้งานของผู้ค้นหา และ Google ที่จะเข้าไปเก็บข้อมูลบนหน้าเว็บที่ว่างเปล่าอย่างเสียเวลา
301 Pages
- หากมีการเปลี่ยน URL ให้กับหน้าเว็บใด ๆ บนเว็บไซต์ โปรดแน่ใจว่าคุณได้ทำการแก้ไขลิงก์ภายในที่เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บนั้น ๆ ให้เป็น URL ใหม่ด้วย
404 Pages
- รูปแบบที่ 1 หากมีการลบหน้าเว็บใด ๆ บนเว็บไซต์ โปรดแน่ใจว่าได้ทำการลบลิงก์ที่เชื่อมโยงไปยังหน้านั้น ๆ ออกด้วยเช่นกัน, จากนั้นให้นำหน้านั้นออกจากผลการค้นหาของ Google โดยการใช้ฟังก์ชัน Removals บน Google Search Console
- รูปแบบที่ 2 หากมีการลบหน้าเว็บใด ๆ บนเว็บไซต์และมีการสร้างหน้าใหม่มาทดแทน โปรดแน่ใจว่าได้ทำการตั้งค่า Redirection จาก URL ของหน้าเว็บเก่า ไปยัง URL ของหน้าเว็บใหม่ เพื่อให้ผลการค้นหาที่แสดงอยู่บน Google เปลี่ยนเส้นทางไปยัง URL ใหม่และรักษาอันดับเดิมไว้, นอกจากนี้ควรแก้ไขลิงก์ภายในที่เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บนั้น ๆ ให้เป็น URL ใหม่ด้วย
Broken Links
- โปรดแน่ใจว่าไม่มีการเชื่อมโยงลิงก์ไปยังหน้าเว็บที่ไม่มีอยู่แล้ว ทั้ง Internal Links (ลิงก์ภายใน) และ External Links (ลิงก์ภายนอก)
Business Trust Pages
Business Trust Pages คือ หน้าเว็บที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณสำหรับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์และ Google
About Us
หน้าเกี่ยวกับเรา เป็นหน้าที่สำคัญสำหรับเว็บไซต์ (ในด้านของผู้เยี่ยมชม) คุณสามารถให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ได้ในหน้านี้ เช่น
- ประวัติบริษัท
- ผู้ก่อตั้ง/กรรมการ/นักลงทุน
- ที่ตั้งสำนักงาน
- ลักษณะธุรกิจของบริษัท
- ผลิตภัณฑ์หรือบริการหลักที่บริษัทของคุณเสนอให้กับลูกค้า
- วิธีการติดต่อ
Contact
หน้าติดต่อ ใช้สำหรับการแสดงข้อมูลการติดต่อต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้งานที่แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ เช่น บางเว็บไซต์ใช้เพื่อนำลูกค้าไปยังฝ่ายบริการลูกค้า บางเว็บไซต์ใช้เพื่อเขียนคำกระตุ้นการตัดสินใจและนำผู้เยี่ยมชมไปยังทีมขาย ธุรกิจขนาดเล็กใช้หน้าการติดต่อเพื่อนำผู้คนไปยังที่ตั้งสำนักงานหรือร้านค้าของตน การปรับเต่งหน้า Contact Page สำหรับ SEO มีดังต่อไปนี้
Privacy Policy
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว คือ หน้าที่คุณแจ้งให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ทราบถึง วิธีที่เว็บไซต์ของคุณเก็บรวบรวม ใช้งาน แบ่งปัน หรือขาย ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยปกป้องเว็บไซต์ของคุณในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องร้องการใช้ข้อมูลของผู้เยี่ยมชมบนเว็บไซต์
Terms & Conditions
หน้าข้อกำหนดและเงื่อนไข คือ หน้าที่คุณแจ้งให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ทราบถึง ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และหลักเกณฑ์ สำหรับการใช้งานเว็บไซต์ ประกอบไปด้วยหัวข้อต่าง ๆ เช่น การใช้งานที่ยอมรับได้ พฤติกรรมที่จำกัด และข้อจำกัดความรับผิด
ข้อแนะนำเพิ่มเติม: About Us, Privacy Policy, Terms & Conditions ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ สำหรับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์และ Google แต่ไม่ใช่หน้าที่เรามุ่งหวังในการทำอันดับบน Google โดยทั่วไปมักจะมีการสร้างลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าเหล่านี้ ในตำแหน่งเมนูส่วนบน หรือเมนูส่วนล่าง ซึ่งเข้าถึงได้จากหน้าอื่น ๆ ทุกหน้า, ลิงก์เชื่อมที่โยงไปยังหน้าเหล่านี้ควรเป็นลิงก์แบบ “nofollow” เพื่อให้ Google Bot ทราบว่าเราไม่ได้ให้ความสำคัญในการทำอันดับสำหรับหน้าเหล่านี้ “นี่เป็นสิ่งที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการรั่วไหลของคะแนน SEO จากหน้าสำคัญอื่น ๆ ที่เราต้องการทำอันดับอย่างแท้จริง เช่น Home Page, Landing Page”
Sitemap
แผนผังเว็บไซต์ช่วยให้ Google ระบุและเก็บรวบรวมหน้าเว็บทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เว็บไซต์ของคุณควรมี XML Sitemap และอย่าลืมที่จะส่งมันไปยัง Google Search Console ด้วย, นอกจากนี้คุณยังสามารถสร้าง HTML Sitemap สำหรับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้อีกเช่นกัน
Blog
บล็อกเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มเนื้อหาใหม่ลงบนเว็บไซต์ (เช่น เนื้อหาที่ไม่สามารถเขียนบนหน้า Landing Page ได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านความยาวของเนื้อหา) บล็อกจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสถูกค้นพบมากขึ้นบน Google (Google มักจะชอบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใหม่ ๆ ที่อัปเดตอยู่เสมอ) นอกจากนี้ ผู้ค้นหาที่มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นลูกค้าของคุณอาจต้องการอ่านบทความในบล็อกของคุณเพื่อให้มั่นใจว่าคุณเป็นผู้ให้บริการที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในบริการนั้น ๆ นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- มี Blog Category บนเว็บไซต์ เช่น domain.com/blog หรือ blog.domian.com
- มีการเผยแพร่บล็อกอย่างสม่ำเสมอ (1-2 บล็อก ต่อสัปดาห์)
- บล็อกมีข้อมูลที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน (ไม่ใช่มีแค่เนื้อหาที่ส่งเสริมการขายเท่านั้น)
Social Media
ในปัจจุบันโซเชียลมีเดียส่งผลต่อการทำ SEO อย่างมีนัยสำคัญ โปรดแน่ใจว่าคุณได้สร้างโปรไฟล์โซเชียลมีเดียและเชื่อมโยงลิงก์โปรไฟล์เหล่านั้นเข้ากับเว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามบริษัทของคุณได้หลายช่องทาง และทำให้พวกเขาสามารถแชร์เนื้อหาจากเว็บไซต์ของคุณไปยังโซเชียลมีเดียได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มปุ่มแชร์ในบล็อกหรือหน้าต่าง ๆ
Image Optimisation
บอทของเครื่องมือค้นหาไม่สามารถมองเห็นรูปถาพได้เหมือนกับดวงตาของมนุษย์ (อ่านและทำความเข้าใจได้จากข้อความเท่านั้น) อย่าลืมที่จะปรับภาพให้เหมาะสมสำหรับเครื่องมือค้นหา นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- มีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องและสื่อความหมายได้ในแต่ละส่วนเหล่านี้
- Alt Text (คำอธิบายแบบสั้น)
- Title (ชื่อรูปภาพ)
- Description (คำอธิบายแบบยาว)
- File Name (ชื่อไฟล์)
- มีการปรับอัตราส่วนของรูปภาพหรือขนาดที่ใช้ในแต่ละส่วนของเว็บไซต์อย่างเหมาะสม
- มีการบีบอัดขนาดของไฟล์รูปภาพให้เล็กลงเพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลด หรือมีการใช้งานไฟล์ภาพแบบ .webp
Website Load Speed
ความเร็วของเว็บไซต์เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับบน Google ในปัจจุบัน และยังส่งผลต่อการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์อีกด้วย ไม่มีใครชื่นชอบเว็บไซต์ที่โหลดช้า
คุณสามารถตรวจสอบสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่อทำให้เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วยิ่งขึ้นด้วยเครื่องมือฟรีต่อไปนี้
Website Design – UX & UI
การออกแบบเว็บไซต์และความสามารถในการใช้งาน เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับ SEO ทั้งในแง่ของการจัดอันดับ การเข้าชมและการสร้าง Conversion จากการเข้าชม นี่คือสิ่งที่เราตรวจสอบในส่วนนี้
- มีการออกแบบเว็บไซต์อย่างมืออาชีพและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้
- เว็บไซต์ใช้งานได้ง่าย
- เว็บไซต์โหลดและตอบสนองต่อการใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- เว็บไซต์แสดงผลองค์ประกอบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บนทุกประเภทอุปกรณ์ (Desktop, Mobile, Tablet)
- มีลิงก์นำทางหรือเมนูนำทางที่เหมาะสมในแต่ละส่วน
- มีการแสดงจุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าจะให้ผู้ใช้งานทำสิ่งใดบนเว็บไซต์
- ไม่มีลิงก์เสียบนเว็บไซต์
Google’s Platforms
เครื่องมือฟรีของ Google เหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO ของคุณมากยิ่งขึ้น โปรดแน่ใจว่าคุณได้สร้างโปรไฟล์และเชื่อมโยงมันเข้ากับเว็บไซต์ของคุณ
- Google Analytics
- ใช้ในการติดตาม รายงาน วิเคราะห์ข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์
- Google Search Console
- ใช้ในการตรวจสอบสถานะการจัดทำดัชนี คำค้นหา ข้อผิดพลาดในการรวบรวมข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นของเว็บไซต์
- Google Business Profile
- ใช้ในการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจ ช่วยให้ผู้คนค้นพบธุรกิจของคุณง่ายยิ่งขึ้นทั้งบน Google Search และ Google Maps